ชาร์จมือถือ ภาษาเขมรพูดว่าอะไร ว่าด้วยเรื่องเสียง Ch&Sh

ชาร์จแบตเตอรี่ ภาษาเขมร พูดว่าอะไร

ภาษาเขมร : សាក
อ่านว่า : ซ้ะก์
แปลว่า : ชาร์จ

จริงๆแล้วคำว่า សាក มาจากคำว่า Charge นั่นแหละ แต่เขมรออกเสียงตามฝรั่งเศสครับ

ภาษาอังกฤษออกเสียงว่า ชาร์จ ซึ่ง Ch ในภาษาอังกฤษ เป็นเสียง(tʃ) ช.ช้าง แต่ก็ไม่ใช่ช.ช้างตรงๆครับ เป็นเสียงชัดกว่าช.ช้าง หรืออาจจะพูดได้ว่า ท.ทหาร ผสมกับ ช.ช้าง (tʃ) นั่นเอง

ส่วนอีกเสียงหนึ่งในภาษาอังกฤษคือ sh เป็นเสียง ช.ช้างที่คล้ายกับการผิวปากเบาๆ (ʃ) แต่แน่นอน ไม่ใช่ช.ช้างชัดๆนะครับ แต่ในภาษาไทย sh กับ ch เป็น ช.ช้างหมดเลย

แต่ในฝรั่งเศส ch กลายเป็นเสียง sh ในภาษาอังกฤษ หรือเสียง ʃ แต่ก็ไม่ใช่ ช.ช้าง เช่นกัน

ส่วนในภาษาเขมร มีแค่ช.ช้าง เหมือนไทยครับ คนที่เรียนภาษาฝรั่งเศสยุคก่อน ไม่รู้เอาตัวไหนมาแทนเสียง ʃ ก็เลยเขียน ស្ស แต่คนอ่านตาม ស្ស ก็ยังออกเสียง ซ.โซ่ อยู่ดี ซึ่งคำว่า Charge (ชาร์กฺ) เขมรสมัยก่อนก็เขียนเป็น ស្សាក ซ้าก ซึ่งอ่านแล้วเสียงก็ไม่ได้ออกต่างจาก សាក-ซ้าก เลย คนรุ่นหลังก็เลยตัดปัญหาด้วยการตัดเชิงไปซ่ะเลย เหลือแค่ សាក ซ้าก นี่เองครับ

แต่ถ้าฟังดีๆ การออกเสียงในภาษาเขมรเวลาสะกดกับก.ไก่ ก็ไม่ใช่ สาก หรือ ซ้าก หรือ ซาก แต่อย่างใด มันจะออกประมาณว่า ซ้าก์ คือ ก.ไก่ แค่ทำให้เสียงสระอา ค้างเท่านั้นครับ ไม่รู้ที่เขียนมาสื่อให้เพื่อนๆ อ่านแล้วรู้เรื่องไหม

คำว่าชาร์จไฟ ถ้าเอาภาษาเขมรล้วนเลยก็มีครับ แต่จะยาวหน่อยครับ បញ្ចូលថ្ម บ็อญโจล ทะมอ (เติมถ่าน(หิน)) หรือ បញ្ចូលភ្លើង อ่านว่า บ็อญโจลเพลิง (เติมไฟ) ครับผม

โอเค มาดูตัวอย่างกัน

ตัวอย่าง : សុំសាកទូរស័ព្ទបន្តិចសិនណា។
อ่านว่า : ซม ซ้าก์ ตูระสับ บ็อนเต๊ก เสิน น่า
แปลว่า : ขอชาร์จโทรศัทพ์ก่อนน่ะ

เพิ่มเติม

ឆ្នាំងសាក ชนังซ้าก์ (หม้อชาร์จ หมายถึงหัวชาร์จ)
ខ្សែសាក คะแซซ้าก์ (สายชาร์จ)
ថ្ម ทะมอ (ถ่านหิน หมายถึง แบตขนาดเล็กหรือถ่านก็ได้ครับ)
អាគុយ อากุย (แบตตะกั่วกรดครับ)

ស្ងោរជ្រក់បង្កង-ต้มยำกุ้ง ภาษาเขมรวันละคำ

ស្ងោរជ្រក់បង្កង-ต้มยำกุ้ง ภาษาเขมรวันละคำ

ស្ងោរជ្រក់បង្កង-ต้มยำกุ้ง ภาษาเขมรวันละคำ

ภาษาเขมร : ស្ងោរជ្រក់បង្កង
อ่านว่า : ซงาว จโร๊ะ บ็องกอง
แปลว่า : ต้มยำกุ้ง
ภาษาอังกฤษ : Tomyam Shrimp

ตัวอย่าง : ស្ងោរជ្រក់បង្កងភាសាថៃហៅថាតុមយ៉ាំគុង។
อ่านว่า : ซงาว จโร๊ะ บ็องกอง เพียซา ไทย เฮาทา ต้มยำกุ้ง
แปลว่า : ซงาว จโร๊ะ บ็องกอง ภาษาไทยเรียกว่า ต้มยำกุ้ง

អាម៉ុកត្រី-ห่อหมกปลา ภาษาเขมรวันละคำ

អាម៉ុកត្រី-ห่อหมกปลา ภาษาเขมรวันละคำ

អាម៉ុកត្រី-ห่อหมกปลา ภาษาเขมรวันละคำ

ภาษาเขมร : អាម៉ុកត្រី
อ่านว่า : อาหมก ตแร็ย
แปลว่า : ห่อหมกปลา
ภาษาอังกฤษ : Amok fish

ตัวอย่าง : ជនបរទេសដែលមកស្រុកខ្មែរតែងតែចង់សាកញ៉ាំអាម៉ុកត្រីខ្មែរ។
อ่านว่า : จ็น บอระเต๊ะฮ์ แดวล์ โหมก ซรก คแมย์ แตย์ง แตย์ จ็อง สะก์ ญำ อาหมก ตแร็ย คแมย์
แปลว่า : ชาวต่างชาติที่มาเมืองเขมรมักจะอยากลองกินห่อหมกปลาเขมร

បង្គាបំពងម្សៅ-กุ้งชุบแป้งทอด ภาษาเขมรวันละคำ

បង្គាបំពងម្សៅ-กุ้งชุบแป้งทอด ภาษาเขมรวันละคำ

បង្គាបំពងម្សៅ-กุ้งชุบแป้งทอด ภาษาเขมรวันละคำ

ภาษาเขมร : បង្គាបំពងម្សៅ
อ่านว่า : บ็องเกีย บ็อมโปง มเซา
แปลว่า : กุ้งชุบแป้งทอด
ภาษาอังกฤษ : Deep fried small shrimp

ตัวอย่าง : បង្គាបំពងម្សៅពិតជាស្រួយឆ្ងាញ់មែន!!។
อ่านว่า : บ็อบเกีย บ็อมโปง มเซา เปิ่ด เจีย ซรวย ชงังญ์ แมน
แปลว่า : กุ้งชุบแป้งทดช่างกรอบอร่อยจริงๆ

ជ្រក់ស្ពៃកូរ៉េ-กิมจิ ภาษาเขมรวันละคำ

ជ្រក់ស្ពៃកូរ៉េ-กิ๋มจิ ภาษาเขมรวันละคำ

ជ្រក់ស្ពៃកូរ៉េ-กิมจิ ภาษาเขมรวันละคำ

ภาษาเขมร : ជ្រក់ស្ពៃកូរ៉េ
อ่านว่า : จรั๊วะ/จโร๊ะ ซเปย โกเร
แปลว่า : ผักกาดดองเกาหลี, กิมจิ
ภาษาอังกฤษ : Kim chi

ตัวอย่าง : ជ្រក់ស្ពៃកូរ៉េហើយនិងជ្រក់ស្ពៃខ្មែរមានរសជាតិមិនខុសគ្នាប៉ុន្មានផង។
อ่านว่า : จโร๊ะ ซเปย โกเร เฮิว์ย เนิง จโร๊ะ ซเปย คแมย์ เมียน โร๊ะฮ์ เจียด เมิน โค๊ะฮ์ คเนีย ปนมาน พ๋อง
แปลว่า : ผักกาดดองเกาหลี(กิมจิ)กับผักกาดดองเขมรรสชาตไม่เห็นแตกต่างกันเท่าไหร่เลย

รวมผักและผลไม้ในภาษาเขมร พร้อมคำอ่าน

คำว่า ผัก ในภาษาเขมรแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ
1 ผักปรุงอาหาร คือ បន្លែ “บ็อนแลย์”
2 ผักจิ้ม คือ អន្លក់”อ็อนลัวะ หรือ อ็อนโละ”
3 ผักแนมหรือผักแกล้ม คือ ល្បោយ “ละบอว์ย”

បន្លែ บ็อนแลย์ ผัก

ស្ពៃ ซเป็ย – ผักกาด
ស្ពៃស ซเป็ย ซอ – ผักกาดขาว หรือ
ស្ពៃបូកគោ ซเป็ย โบก โก
ស្ពៃក្រញ៉ាញ់ ซเป็ย กรอญัยญ์ – ผักกาดขาวปลี (ภาษาถิ่นพระตะบอง)
ស្ពៃខ្មៅ ซเป็ย คเมา – ผักกาดเขียว
ស្ពៃចង្កឹះ ซเป็ย จ็องเกอะฮ์ – ผักกวางตุ้ง
ស្ពៃក្ដោប ซเป็ย กดอฺบ – กระหล่ำปลี
ផ្កាខាត់ណា ผกา คัดนา – ดอกกระหล่ำ
សណ្ដែក ซ็อนแดก – ถั่ว
សណ្ដែកកួរ ซ็อนแดก กัว – ถั่วผักยาว, ซ็อนแดก ตเริง – ถั่วฝักยาว
សណ្ដែកសៀង ซ็อนแดก เซียง – ถั่วเหลือง
សណ្ដែកដី ซ็อนแดก เด็ย – ถั่วลิสง ถั่วดิน
សណ្ដែកបណ្ដុះซ็อนแดก บ็อนโด๊ะฮ์ – ถั่วงอก
ពពាយ โปเปียย (ป+เอีย+ย) – ถั่วพู
ខាត់ណា คัตนา – คะน้า
ត្រកួន ตรอกวน – ผักบุ้ง
កន្ធំធេត – กระถิน
កញ្ឆែត กัญแชย์ต – กระเฉด
បះ บ๊ะฮ์ – ตำลึง
ជីវ៉ាន់ស៊ុយ จี วันซุย – ผักชี
ជីអង្កាម จี อ็องกาม – สะระแหน่
ជីនាងវង จี เนียง วอง – โหระพา
ជីថ្ពាល់ត្រី จี ทป็วฺล ตเร็ย – ผักพลูคาว หรือ คาวตอง
ត្រប់ ตร็อบ – มะเขือ
ត្រប់ពុតលំញង ตร็อบ ปดลุมโญง – มะเขือพวง
ប៉េងប៉ោះ เปงเปาะฮ – มะเขือเทศ
ត្រប់វែង ឬ ត្រប់ក្ដគោ ឬ ត្រប់ប្លោកគោ ตร็อบ แวง หรือ ตร็อบ กะดอโก หรือ ตร็อบ พลอฺก โก – มะเขือยาว
ម្ទេស มเตฮ – พริก
ត្រឡាច ตรอลาจ – ฟักเขียว
ឃ្លោក คโลก – น้ำเต้า
ននោង โนโนง – บวบ
ម្រះព្រៅ มเรียะฮ ปเริว็ – กระเพรา
ទំពាំង ตุมเปีย็ง – หน่อไม้
ក្រូចសើច กโรจ เซิจ – มะกรูด
ក្រូចឆ្មារ กโรจ ชมา – มะนาว
ល្ពៅ ละเปิว็ – ฟักทอง
អង្គាដី อ็องเกีย เด็ย – แค
ល្ងៀងลเงียง – ติ้ว
ថ្ងាន់ ทงัน – กุ่มบก
ទន្លា ตนเลีย – กุ่มน้ำ
ដំឡូង ด็อมโลง – มัน
ដំឡូងជ្វា ด็อมโลง ชเวีย – มันเทศ (สงสัย เข้าใจว่าเอามาจากชวา)
ដំឡូងមី ด้อมโลง มี – มันสัมปะหลัง
អំពិលទុំ อ็อมปึล (-เปิล็) ตุม – มะขามเปียก
ត្រាវ ตราว – เผือก
ម្រំ มรุม – มะรุม
ខ្ទឹមស คตึม ซอ – กระเทียม
ខ្ទឹមក្រហម คตึม กรอฮอม – หอมแดง
ខ្ទឹមបារាំង คตึม ปารัง – หอมหัวใหญ่
ដើមខ្ទឹម เดิม คตึม ស្លឹកខ្ទឹម ซเลอะก์ คตึม- ต้นหอม
ការ៉ុត การอต – แครอท
សាលាដ ซาลัต – ผักสลัด
ម្អម มะออม – ผักขะแยง
ត្រសក់ ตรอเซาะ – แตงกวา
ម្រះ มเรียะฮ – มะระ
ខ្ញី คเญ็ย – ขิง
រំដេង รุมเดง – ข่า
ស្លឹកគ្រៃ ซเลอะก์ กเร็ย – ตะไคร้
ខ្ជាយ คเจียย – กระชาย
ម្រេច มเรกจ์ – พริกไทย
ត្រយូងចេក ตรอโยง เจก – ปลีกล้วย
កណ្ដោល ก็อนดอล – กระโดน
ស្លាបច្រវ៉ា ซลาบ จรอวา – สันตะวา
ត្រដៀតប៉ោង ตรอเกียด ปอง – ตาลปัตรฤๅษี
ផ្កាស្រលិត ผกา ซรอเลิต็ – ดอกสลิด หรือ ดอกขจร
អង្កាញ់ อ็องกัญ – ขี้เหล็ก
ស្អំ ซอ็อม – ชะอม
តាំងអ ឬ គុយឆាយ ตังออ หรือ กุยชาย – คึ่นช่าย
ភ្លៅកង្កែប พเลิว็ ก็องแกบ(น่องกบ) – ผักชีล้อม (เขมรกินกับขนมจีน)
ផ្កាកំប្លោក ผกา ก็อมพลอก – ผักตบชวา (เขมรเอาดอกกินกับขนมจีน)
ថ្នឹង ทเนิง็ – ส้มลม (เขมรนำมาใส่แกง)

ផ្លែឈើ พแล เชอ – ผลไม้

ប៉ោម ឬ ប៉ម ปาว์ม หรือ ปอม – แอบเปิ้ล
ត្របែក ตรอแบก – ฝรั่ง
ចេក เจก – กล้วย
ចេកអំបូង เจก อ็อมโบง – กล้วยหอม
ក្រូច กโรย์จ – ผลไม้ตระกูลส้มทั่วไป
ក្រូចខ្វិច กโรจ ควิจ – ส้ม พวกส้มจีน สีเหลืองๆ
ក្រូចថ្លុង กโรจ ทลง – ส้มโอ
ស្រកានាគ ซรอกา เนียะก์ – แก้วมังกร
មង្ឃុត มงคุต – มังคุด
ល្មុត ลมุต – ละมุด
មៀន เมียน – ลำไย
ម្កាក់ มะกะ – มะกอก
ល្ហុង ลฮง – มะละกอ
ឪឡឹក เอิว็เลิก็ – แตงโม
ត្រសក់ស្រូវ ตรอเซาะ ซเริว็ – แตงไทย
ស្វាយ ซวาย – มะม่วง
គូលេន กูแลน – ลิ้นจี่
ម្នាស់ มะนัวฺะฮ – สับปะรด
សាវម៉ាវ ซาวมาว – เงาะ
ធូរេន ทูเรน – ทุเรียน
ដូង โดง – มะพร้าว
ពោត โปต – ข้าวโพด
ទៀប เตียบ – น้อยหน่า
ទៀបបារាំង เตียบ ปารัง – ทุเรียนเทศ
ខ្នុរ คนล หรือ คนาว – ขนุน
ពុទ្រា ปุตตเรีย – พุทรา
ទំពាំងបាយជូ ตุมเปีย็งบายจู – องุ่น
ក្រខុប กรอคบ – ตะขบ
កំពីងរាជ ก็อมปีง เรียจ – กระท้อน
ព្នៅ ปเนิว – มะตูม
សណ្ដាន់ ซ็อน ดัน – มะดัน

ផ្សេងៗ พเซง ๆ อื่น ๆ

ក្រូចង៉ាំង៉ូវ กโรย์จ งำโง็ว – มะนาวดอง
យីហ៊ឺ ยีฮือ – ปลาหมึกแห้ง
បង្គាក្រៀម បង្គាក្រៀម – กุ้งแห้ง
តាំងហ៊ុន ឬ មីសួ ตังฮุน มีซัว – วุ้นเส้น
ប៉េះគក់ แปะกัวะ – มันแกว
ស្វាយចន្ទី ซวาย จันตี – มะม่วงหิมพานต์

ปรับปรุงและเพิ่มเติมจาก http://www.d-looks.com/showblog.php?Bid=18737