ป้ายบอกสถานที่ตามถนนที่กัมพูชา

47.1

ป้ายบอกสถานที่ ข้างหน้าแยกซ้ายเป็นทางหลวงหมายเลขที่68 ไปสำโรง ก็คือตัวจังหวัดอุดรเมียนเจ็ย และมุ่งไปยังชายแดนโอร์ซมัจ  หากท่านตรงไปตามทางหลวงหมายเลข 6 ก็จะเข้าเมืองเสียมราฐ

เมืองปอยเปตในปัจจุบันนี้

1174555_598433633531793_909287508_nเมืองปอยเปตเป็นเมืองที่มีความเจริญอย่างรวดเร็ว มีประชากรกว่า 5 แสนคน ใช้เวลาพัฒนาเพียง 15 ปีเท่่านั้น หลังจากตกเป็นเมืองร้างอยู่นานกว่า 20 ปีในสมัยสงครามเขมรสี่ฝ่าย

ប្រទីប ประทีบ, กระทง หรือไหลเรือไฟกันแน่

ไหลเรือไฟ..เมื่อแข่งเรือเสร็จช่วงหกโมงเย็นเศษพลบค่ำก็จะมีเรือประทีปคนไทยเรียกไหลเรือไฟ(คล้ายแบบทางจังหวัดนครพนม) มีนี้มี 10 ลำ ส่วนมากเป็นของกระทรวงและสถาบัน ในระหว่างเรือไฟวิ่งผ่านหน้าพระที่นั่งที่ประทับจะมีการจุดพลุ 2000 นัด ปฏิบัติเช่นนี้ตลอดเวลา 3 วัน คือ 5-6-7 พ.ย.ในระหว่างเรือไฟแล่นผ่านโฆษกพิธีกรจะบรรยายอธิบายความหมายสัญลัีกขณ์ที่ตกแต่งบนเรือไฟ

เทศกาลแข่งเรือกลับมามีเหมือนเดิม แต่ไม่เหมือนเดิม

กรุงพนมเปญเงียบเหงา อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ปีนี้ประเพณีแข่งเรือ-ไหว้พระจันทร์ -ไหลเรือไฟ (ลอยประทีป) – กรอกข้าวเม่า ผู้คนยังคงหวาด ๆ ไม่ปล่อยให้ลูกหลานมาเที่ยว ปีนี้ทางสรรพวุธทหารกัมพูชาจะจุดพลุคืนละ 2000 นัด ชาวบ้านทราบข่าวยิ่งกลัวหนักเข้าไปอีก เพราะไม่ไว้ใจพลุเกรงว่าพลุจะแตกแล้วถูกลูกหลงบาดเจ็บ-ตาย

มาตรการป้องกันภัย จำได้ไหมเมื่อ 4 ปีก่อน

เมื่อเกือบ 4 ปีก่อนคนเขมรตายเพราะแตกตื่นถึง 375 คนในงานแข่งเรือ ปีนี้ทางรัฐบาลเขมรไม่ประมาทเตรียมพยาบาลสนามมาตั้งรองรับคนเจ็บป่วย

เทศกาลลอยกระทงกัมพูชา

ประเพณีเดือนสิบสองแข่งเรือ-ลอยประทีป-กรอกข้าวเม่า-ไหว้พระจันทร์ เริ่มแล้ววันนี้ที่กรุงพนมเปญ ปีนี้มีเรือเข้าแ่ข่งขัน 245 ลำ น้อยกว่าปีที่แล้ว165 ลำ มีฝีพายชาย-หญิง 17421 คน แข่งกันทีละคู่ระยะทาง 1700 เมตร เที่ยวแรกวันนี้เริ่ม 11.00 น.แข่งกันไป 3 วัน

เรื่องพลุ น่าจะปลอดภัยแล้วน่ะ

เมื่อ 29 ต.ค.ที่ผ่านมาที่กรุงพนมเปญฉลองการครองราชย์ของพระมหากษัตริย์และจุดพลุตอนค่ำ ลูกแรกพุ่งไปชนกระจกอาคารสูง ลูกสุดท้ายพลุวิ่งไปชนนักศึกษาท้องทะลุตายคาที่ญาติคนตายเรียกเงินจากรัฐบาล 3 ล้านบาท งานแข่งเรือก็จุดพลุโดยเจ้าเดิมกรมสรรพวุธกัมพูชา คราวนี้ป้องกันไว้ก่อนโดยไปจุดพลุกันในเรือและลอยลำกลางแม่โขง เพื่อให้ชาวบ้านอุ่นใจว่าจะไม่มีผิดพลาดอีก สำหรับภาพสุดท้ายเป็นพลุที่แตกและมีคนตายจากเหตุการณ์เมื่อ 29 ต.ค.ที่ผ่านมา

จะใส่หมวกหรือจ่ายค่าปรับดี

10975_1468930996726385_8872689907178947979_n[1]

วัยรุ่นเขมรคนนี้เขาพร้อมที่จะยอมเสียค่าปรับข้อหาไม่สวมหมวกกันน็อกครั้งละ 5000 เรียล (40บาท)

ខ្លោងទ្វារ – คลอง เทวียร์ – ซุ้มประตู

247796_523314947727802_1740695250_nซุ้มประตูที่เมืองพระตะบองในสมัยโลก-มจ็ะส์ พระยากทาธร (ชุ่ม) ต่อมาปีพ.ศ. 2450 เมื่อทางฝรั่งเศสได้เข้าปกครองเมืองเขมรได้ทำลายทิ้งเพื่อการวางผังเมือง

วิ่งควาย แข่งม้า ที่เมืองเขมร

10665380_772158792843861_703661072656885987_n 10702164_772158789510528_2812949533565887439_n

ทุก ๆ ปี ที่อำเภอ คซัจ กอณดาล จังหวัด กอณดาล ในช่วงเทศกาลภจุมบิณฑ์ จะมีประเพณีวิ่งควาย และแข่งม้า เป็นประจำทุกปี

ស្គន់ – ซก็วน – อำเภอสกน

SONY DSCเป็นอำเภอหนึงในเขคจังหวัดกำปงจาม อยู่ห่างจากกรุงพนมเปญ 70 กม. ที่ตัวอำเภอนี้จะเป็นศูนย์กลางการเดินทางไปเสียมเรียบ หรือ ไปกำปงจาม รตนคีรี มณฑลคีรี  จะเห็นมีอนุสาวรีย์ที่เป็นภาษาจีน เขาสร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงทหารจีนแผ่นดินใหญ่ที่เข้ามาในฐานะทหาร UNTAC เมื่อปี 1903 ค่ายทหารจีนที่นี่ถูกกองกำลังเขมรเข้าโจมตีและมีทหารเสียชีิวติ 2 นาย

ជណ្តើរ​ – จณเดอร์ – บันได

10626650_326613614184233_8064968946212730887_nแต่ก่อนที่นครวัดหากนักท่องเที่ยวที่ต้องการขึ้นไปยังชั้นบนสุดต้องปีนป่ายขึ้นไป บางครั้งเกิดการพลาดพลั้งลื่นไถลตกลงมาบาดเจ็บและบางรายก็ถึงแก่ชีวิต เพราะขั้นบันไดสึกหรอและเล็กไม่มีเหลี่ยมง่ายต่อการพลัดตก เดี๋ยวนี้ขึ้น-ลงสบายแล้ว

កខ្វក់ – กอ คว็อก – สกปรก

10690346_1475472689380442_8923233132589998629_nขยะที่เห็นนี้อยู่ใต้สะพานมิตรภาพไทย-กัมพูชา ด่านคลองลึก-ปอยเปต  ขยะเหล่านี้ส่วนมากจะมาจากร้านค้าตลาดโรงเกลือที่ตั้งอยู่ริมคลอง น้ำจากคลองนี้จะไหลเข้าไปในดินแดนของฝั่งกัมพูชาผ่านหมู่บ้าน สตึงบ็อด ,กูบใหญ่ ,กูบน้อย ดงอรัีญ ,กุดตาสอด ,ไคดอน ,โอร์โจรว และไหลไปลงแม่น้ำศรีโสภณ มุ่งหน้าสู่ทะเลสาบ

ស្ពានដែក – ซเปียน แดก – สะพานเหล็ก

10534660_762958620430099_4373124340786706629_nเป็นสะพานสร้างขึ้นครั้งแรกข้ามแม่น้ำสังแก (ซองแก) ที่ตัวเมืองพระตะบอง(บัดดอมบอง) ในยุคสมัยหลังปี พ.ศ. 2450

មង្ឃុតព្រៃ คนเขมรเขาเรียก มงฆุดเปร็ย คนไทยเรียก มังคุดป่า

SONY DSC

ริมทางหลวงหมายเลข 5 เขตจังหวัดกำปงฉนังท่านจะเห็นเขาวางขาย เป็นผลไม้ป่า

dsc01688

មេតុងទីន เมตงตีน – เท้าแชร์

8977b9b2-a0e4-44c5-ae5c-0c63b27dd117

ที่ตลาดโรงเกลือ พ่อค้าแม่ขายเขานิยมเ่ล่นแชร์กัน เปียรายวัน เปียรายสัปดาห์ และเท้าแชร์ ซึ่งคนเขมรเรียกว่า เมตงตีน บางคนก็ซื่อสัตย์บางคนก็หนีหายไป อย่างรายนี้หนีไม่ทันเขาแจ้งตำรวจจับมาดำเนินคดี

จิตรกรรมฝาผนังสงครามเขมรกับจามปา ยุคชัยวรมันที่ 7

ภาพทหารใส่หมวกรูปบัวคว่ำคือ ทหารจาม หรือจามปา แต่ก่อนแต่ไรก็เป็นคู่ศึกกับชาวเขมรยุคชัยวรมันที่ 7 เมืองจามอยู่ทางตอนกลางของเวียตนามปัจจุบันยังคงมีปราสาทหลงเหลืออยู่เพียงไม่กี่แห่งในเวียตนาม

หนูทอดเมือง បាត់ដំបង พระตะบอง

เดินทางออกจากเมืองพระตะบองมุ่งหน้าสู่พนมเปญ เพียงไม่กี่กิโลเมตร จะพบเห็นเพิงร้านค้าริมทางเขาขายหนูนาทอด ราคาตัวละ 30 บาท