ត្រីដុតអំបិល-ปลาเผา ภาษาเขมรวันละคำ

ត្រីដុតអំបិល-ปลาเผา ภาษาเขมรวันละคำ

ត្រីដុតអំបិល-ปลาเผา ภาษาเขมรวันละคำ

ภาษาเขมร : ត្រីដុតអំបិល
อ่านว่า : ตแร็ย ดด อ็อม เบิวล์
แปลว่า : ปลาเผา
ภาษาอังกฤษ : Grilled Fish

ตัวอย่าง : ត្រីដុតអំពិលក៏ឆ្ងាញ់ដែរ សាក់មើលទៅ។
อ่านว่า : ตแร็ย ดด อ็อม เบิวล์ ก็ ชงัยญ์ แดย์ สะก์ เมิวล์ เติ้ว
แปลว่า : ปลาเผาก็อร่อยน่ะ ลองดูสิ

មាន់អាំង-ไก่ย่าง ภาษาเขมรวันละคำ

មាន់អាំង-ไก่ย่าง ภาษาเขมรวันละคำ

មាន់អាំង-ไก่ย่าง ภาษาเขมรวันละคำ

ภาษาเขมร : មាន់អាំង
อ่านว่า : ม็วน อัง
แปลว่า : ไก่ย่าง
ภาษาอังกฤษ : Grilled Chicken

ตัวอย่าง : ចង់សាកញ៉ាំមាន់អាំងបែបខ្មែរអត់?
อ่านว่า : จ็อง ญำ ม็วน อัง แบย์บ คแมย์ อ๊อด?
แปลว่า : อยากกินไก่ย่างแบบเขมรไหม

ឡាបសាច់ជ្រូក-ลาบหมู ภาษาเขมรวันละคำ

ឡាបសាច់ជ្រូក-ลาบหมู ภาษาเขมรวันละคำ

ឡាបសាច់ជ្រូក-ลาบหมู ภาษาเขมรวันละคำ

ภาษาเขมร : ឡាបសាច់ជ្រូក
อ่านว่า : ลาบ สักจ์ จรูก
แปลว่า : ลาบหมู
ภาษาอังกฤษ : Laab Pork

ตัวอย่าง : ឡាបសាច់ជ្រូកខ្មែរអត់ហិរដូចឡាបថៃទេ។
อ่านว่า : ลาบ สักจ์ จรูป คแมย์ อ็อด เฮิวล์ โดยจ์ ลาบ ไทย เต
แปลว่า : ลาบหมูเขมรไม่เผ็ดเหมือนลาบไทยน่ะ

ប្រហិតត្រី-ลูกชิ้น/ทอดมันปลา ภาษาเขมรวันละคำ

ប្រហិតត្រី-ลูกชิ้น/ทอดมันปลา ภาษาเขมรวันละคำ

ប្រហិតត្រី-ลูกชิ้น/ทอดมันปลา ภาษาเขมรวันละคำ

ภาษาเขมร : ប្រហិតត្រី
อ่านว่า : ปรอ เหิด (จำไว้น่ะครับ พยัญชนะ + ិ  เอะ + ត ออกเสียงว่า เอิด)
แปลว่า : ลูกชิ้น/ทอดมันปลา
ภาษาอังกฤษ : Deep fried fish dumpling

ตัวอย่าง : ប្រហិតត្រីជាមួយទឹកជ្រលក់គេឆ្ងាញ់ណាស់។
อ่านว่า : ปรอ เหิด ตแร็ย เจีย มวย เติก จโร โล๊ะ เก ชงัยญ์ น่ะฮ์
แปลว่า : ทอดมันปลากับน้ำจิ้มเขาอร่อยมาก

ป.ล.
ប្រហិត ปรอเหิด คืออาหารที่เอาเนื้อสัตว์มาบด จะทอดจะลวก หรือจะรูปทรงไหนก็ได้ แต่ภาษาไทยเรียกได้สองแบบ ถ้าแบนๆ ก็ทอดมัน ถ้ากลมๆ ก็ลูกชิ้น เท่านั้นเองครับ อิอิอิ

ภาษาเขมร หมวด: ทิศ ទិស

ทิศ Direction ទិស

เคยนำเสนอมาแล้วคำว่าทิศน่ะครับ คลิกไปอ่าน

ทิศ ภาษาเขมรเรียก ទិស ตึ๊ฮ์
ทิศหลักทั้งสี่ที่ใช้บ่อย
แล้วจะท่อง ส่วนมากก็เริ่มจากทิศตะวันตก

ទិសខាងលិច ตึ๊ฮ์ คาง เล็กจ์ = ทิศตะวันตก
ទិសខាងកើត ตึ๊ฮ์ คาง เกิว์ด = ทิศตะวันออก
ទិសខាងជើង ตึ๊ฮ์ คาง เจิง = ทิศเหนือ
ទិសខាងត្បូង ตึ๊ฮ์ คาง ตโบง = ทิศตะใต้

เรียกย่อๆว่า
เล็กจ์ เกิว์ด เจิง ตโบง = ตก ออก เหนือ ใต้

ส่วนทิศทั้งแปด เขมรไม่ค่อยใช้คำว่าเฉียงน่ะครับ 
แล้วจะท่อง ส่วนมากก็เริ่มจากทิศตะวันออก

 ภาษาเขมร  อ่านว่า แบบไทย แบบอย่างง่าย
 បូព៌  โบ  บูรพา  ตะวันออก
 អាគ្នេយ៍  อาคเนย์  อาคเนย์  ตะวันออกเฉียงใต้
 ទក្សិណ  เตี๊ยะเซิน  ทักษิณ  ใต้
 និរតី  นิระแด็ย  หรดี  ตะวันออกเฉียงใต้
 បស្ចិម  ปัย์จ เจิม  ประจิม  ตะวันตก
 ពាយ័ព្យ  เปีย ยั๊วบ  พายัพ  ตะวันตกเฉียงเหนือ
 ឧត្ដរ  อุดอ  อุดร  เหนือ
 ឦសាន  แอ็ย ซาน  อีสาน  ตะวันออกเฉียงเหนือ

ជ្រក់ស្ពៃកូរ៉េ-กิมจิ ภาษาเขมรวันละคำ

ជ្រក់ស្ពៃកូរ៉េ-กิ๋มจิ ภาษาเขมรวันละคำ

ជ្រក់ស្ពៃកូរ៉េ-กิมจิ ภาษาเขมรวันละคำ

ภาษาเขมร : ជ្រក់ស្ពៃកូរ៉េ
อ่านว่า : จรั๊วะ/จโร๊ะ ซเปย โกเร
แปลว่า : ผักกาดดองเกาหลี, กิมจิ
ภาษาอังกฤษ : Kim chi

ตัวอย่าง : ជ្រក់ស្ពៃកូរ៉េហើយនិងជ្រក់ស្ពៃខ្មែរមានរសជាតិមិនខុសគ្នាប៉ុន្មានផង។
อ่านว่า : จโร๊ะ ซเปย โกเร เฮิว์ย เนิง จโร๊ะ ซเปย คแมย์ เมียน โร๊ะฮ์ เจียด เมิน โค๊ะฮ์ คเนีย ปนมาน พ๋อง
แปลว่า : ผักกาดดองเกาหลี(กิมจิ)กับผักกาดดองเขมรรสชาตไม่เห็นแตกต่างกันเท่าไหร่เลย

การใช้สระภาษาไทย ស្រៈថៃ

สระต่างๆ ที่เราเปล่งเสียงออกมาทางภาษาพูด  ย่อมไม่มีพลิกแพลงอย่างไร  เพียงแต่ลั่นสำเนียงให้ชัดเจนเป็นที่รู้กันได้ก็นับว่าพอแก่ความต้องการในทางภาษาแล้ว  แต่ในภาษาหนังสือ  ต้องการความหมายแสดงประจักษ์ทางตาเป็นที่สำคัญ  เพราะฉะนั้นจึงมีระเบียบและวิธีเขียนที่ต้องอาศัยหลักเกณฑ์ละเอียดกว่าภาษาพูด  เพราะนอกจากจะเป็นเครื่องหมายให้รู้ทางตาแล้ว  ยังต้องใช้เป็นเครื่องหมายนำในการออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจนด้วย  ผู้ศึกษาจึงจำเป็นต้องรู้หลักการใช้และการเขียนให้เหมาะสมกับยุคสมัยที่ภาษาได้เจริญก้าวหน้าไปตามจังหวะของมัน  เพราะฉะนั้นการการใช้และการเขียนจึงมักมีการเปลี่ยนแปรแก้ไขได้เป็นครั้งคราวแต่มีหลักสังเกตในเบื้องต้น  คือบรรดาสระในภาษาไทย  (ยกเว้น  ฤ  ฤๅ  ฦ  ฦๅ)  จะใช้เขียนตามลำพังไม่ได้ต้องใช้คู่กับพยัญชนะเสมอ  แม้สระที่เราต้องการจะใช้โดดๆ ซึ่งเรียกว่าสระลอยจะต้องมีตัว    กำกับอยู่ด้วยเสมอ  เช่นคำว่า  อิน  อุ่น  อ่าน  จะเขียนแต่สระไม่ได้เพราะในวลีหรือประโยคเดียวกันเราเขียนคำติดต่อเป็นพืดเดียวกัน  ไม่มีเว้นวรรคเป็นคำๆ  เหมือนภาษาบาลีสันสกฤตและภาษาตระกูลยุโรป  ถ้าไม่มีตัว กำกับอยู่ด้วย  ก็จะทำให้สระลอยเหล่านั้นไปติดกับตัวพยัญชนะที่มาข้างหน้า   ทำให้เกิดความฉงนในการอ่าน  เช่น  นอน  ่าน  (นอนอ่าน)  ถ้าเขียนติดกันก็จะเป็น  นอน่าน  ไป  เพราะฉะนั้นการเขียนรูปสระที่ติดตามลำพังจึงต้องมีตัว    กำกับอยู่ด้วย  ต่อไปนี้จะได้อธิบายหลักเกณฑ์การใช้สระบางตัวที่มีเสียงซ้ำกันแต่มีรูปต่างกัน  หรือมีวิธีเขียนที่จำต้องกำหนดพิเศษ  ส่วนสระที่เขียนตามปกติ  ไม่มีวิธีพลิกแพลงอย่างไรจะไม่อธิบายไว้ในที่นี้

ស្រៈ​ភាសាថៃ-สระภาษาไทย

ស្រៈ​ភាសាថៃ-สระภาษาไทย

สระอะ អានត-อ่านต่อ

ជ្រូកឆាជូអែម-ผัดเปรี้ยวหวานหมู ภาษาเขมรวันละคำ

ជ្រូកឆាជូអែម-ผัดเปรี้ยวหวานหมู ภาษาเขมรวันละคำ

ជ្រូកឆាជូអែម-ผัดเปรี้ยวหวานหมู ภาษาเขมรวันละคำ

ภาษาเขมร : ជ្រូកឆាជូអែម, ឆាជូអែមសាច់ជ្រូក
อ่านว่า : จรูก ชา จู แอย์ม, ชา จู แอย์ม ซักจ์ จรูก
แปลว่า : ผัดเปรี้ยวหวานหมู
ภาษาอังกฤษ : Stir fried pork with sweet and sour vegetables

ตัวอย่าง : ឆាជូអែមជាម្ហូបដែលខ្ញុំចូលចិត្តជាងគេ។
อ่านว่า : ชา จู แอย์ม เจีย มโฮบ แดย์ล คญม โจวล์ เจิด เจียง เก
แปลว่า : ผัดเปรี้ยวหวานเป็นอาหารที่ฉันชอบที่สุด

ខ្លោច-ไหม้ ภาษาเขมรวันละคำ

ខ្លោច-ไหม้ ภาษาเขมรวันละคำ

ខ្លោច-ไหม้ ภาษาเขมรวันละคำ

ภาษาเขมร : ខ្លោច
อ่านว่า : คะลอว์จ (เขียนไงดีน้อ)
แปลว่า : ไหม้ (เกินสุก)
ภาษาอังกฤษ : Burned, over cooked

ตัวอย่าง : សូមជូនមាន់ដុតខ្លោចមួយទុកជាការលើកទឹកចិត្ត។
อ่านว่า : โซม จูน ม็วน ดด คะลอว์จ มวย ตุก เจีย กา เลิก เติก เจิด
แปลว่า : ขอมอบไก่อบไหม้ตัวหนึ่งเป็นกำลังใจให้น่ะ

មាន់ឆាគ្រាប់ស្វាយចន្ទី-ผัดผักไก่ใส่เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ ภาษาเขมรวันละคำ

មាន់ឆាគ្រាប់ស្វាយចន្ទី-ผัดผักไก่ใส่เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ ภาษาเขมรวันละคำ

មាន់ឆាគ្រាប់ស្វាយចន្ទី-ผัดผักไก่ใส่เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ ภาษาเขมรวันละคำ

ภาษาเขมร : មាន់ឆាគ្រាប់ស្វាយចន្ទី
อ่านว่า : ม็วน ชา กร็วบ ซวาย จันตี
แปลว่า : ผัดผักไก่ใส่เมล็ดมะม่วงหิมพานต์
ภาษาอังกฤษ : Fried chicken with cashew nut

ตัวอย่าง : អ្នកដែលចូលចិត្តញ៉ាំបន្លែ សូមណែនាំមាន់ឆាគ្រាប់ស្វាយចន្ទី។
อ่านว่า : เนียะก์ แดย์ล โจว์ลเจิด ญำ บ็อนแลย์  โซม แนย์น็วม ม็วน ชา กร็วบ ซวาย จันตี
แปลว่า : ใครที่ชอบกินผัก ขอแนะนำผัดไก่ใส่เมล็ดมะม่วงหิมพานต์

7 วัน ของสัปดาห์ ภาษาเขมร

คำศัพท์ภาษาเขมรวันนี้เสนอ วัน
วันอาทิตย์ ថ្ងៃអាទិត្យ [ ทไง อาเติด ]
วันจันทร์ ថ្ងៃច័ន្ទ[ ทไง จัน ]
วันอังคาร ថ្ងៃអង្គារ [ ทไง อ็อง เกีย ]
วันพุธ ថ្ងៃពុធ [ ทไง ปุด ]
วันพฤหัส ថ្ងៃព្រហស្បតិ៍[ ทไง โปร ฮั๊วะฮ์ ]
วันศุกร์ ថ្ងៃសុក្រ [ ทไง สก ]
วันเสาร์ ថ្ងៃសៅរ៍ [ ทไง เซาว์ ] 

សាតេដំឡូងបារាំង-มันฝรั่งทอด ภาษาเขมรวันละคำ

image

ภาษาเขมร : ដំឡូងបារាំងបំពងខ្លាញ់, សាតេដំឡូងបារាំង
อ่านว่า : ด็อมโลง บารัง บ็อมโปง คลัย์ญ, ซาเต ด็อมโลง บารัง(ซาเต ภาษาฝรั่งเศส)
แปลว่า : มันฝรั่งทอด
ภาษาอังกฤษ : Sate Potato

ตัวอย่าง : ឃើញគេសរសេរថាសាតេដំឡូងបារាំង តែមិនដឹងញ៉ាំជាមួយអី?
อ่านว่า : เคิย์ญ เก ซอเซ ทา ซาเต ด็อมโลง บารัง แตย์ เมิน เดิง ญำ เจียมวย แอ็ย
แปลว่า : เห็นเขาเจียนว่าซาเตด็อมโลงบารัง แต่ไม่รู้ว่าเขากินกับอะไร

ASEAN Cartoons รวมการ์ตูน เกี่ยวกับอาเซียน

We are ASEANชุดแรกที่เคยลงมาแล้วนานแสนนาน

ชุดภาพคุณภาพดี จะบอกว่าจากเว็บอื่นเหมือนกันน่ะครับ

ชุดการ์ตูนอาเซียน เด็กๆ น่ารักๆ
ขอบคุณ http://www.bantan.ac.th/

ธงชาติประเทศอาเซียน + ตีมอร์เลสเต้ แบบเคลื่อนไหวได้ สวยดีครับ
ขอบคุณ http://www.bantan.ac.th/

เอาแค่นี้่อนน่ะครับ เดี๋ยวว่างๆเอามารวบรวมอีก

 

รวมผักและผลไม้ในภาษาเขมร พร้อมคำอ่าน

คำว่า ผัก ในภาษาเขมรแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ
1 ผักปรุงอาหาร คือ បន្លែ “บ็อนแลย์”
2 ผักจิ้ม คือ អន្លក់”อ็อนลัวะ หรือ อ็อนโละ”
3 ผักแนมหรือผักแกล้ม คือ ល្បោយ “ละบอว์ย”

បន្លែ บ็อนแลย์ ผัก

ស្ពៃ ซเป็ย – ผักกาด
ស្ពៃស ซเป็ย ซอ – ผักกาดขาว หรือ
ស្ពៃបូកគោ ซเป็ย โบก โก
ស្ពៃក្រញ៉ាញ់ ซเป็ย กรอญัยญ์ – ผักกาดขาวปลี (ภาษาถิ่นพระตะบอง)
ស្ពៃខ្មៅ ซเป็ย คเมา – ผักกาดเขียว
ស្ពៃចង្កឹះ ซเป็ย จ็องเกอะฮ์ – ผักกวางตุ้ง
ស្ពៃក្ដោប ซเป็ย กดอฺบ – กระหล่ำปลี
ផ្កាខាត់ណា ผกา คัดนา – ดอกกระหล่ำ
សណ្ដែក ซ็อนแดก – ถั่ว
សណ្ដែកកួរ ซ็อนแดก กัว – ถั่วผักยาว, ซ็อนแดก ตเริง – ถั่วฝักยาว
សណ្ដែកសៀង ซ็อนแดก เซียง – ถั่วเหลือง
សណ្ដែកដី ซ็อนแดก เด็ย – ถั่วลิสง ถั่วดิน
សណ្ដែកបណ្ដុះซ็อนแดก บ็อนโด๊ะฮ์ – ถั่วงอก
ពពាយ โปเปียย (ป+เอีย+ย) – ถั่วพู
ខាត់ណា คัตนา – คะน้า
ត្រកួន ตรอกวน – ผักบุ้ง
កន្ធំធេត – กระถิน
កញ្ឆែត กัญแชย์ต – กระเฉด
បះ บ๊ะฮ์ – ตำลึง
ជីវ៉ាន់ស៊ុយ จี วันซุย – ผักชี
ជីអង្កាម จี อ็องกาม – สะระแหน่
ជីនាងវង จี เนียง วอง – โหระพา
ជីថ្ពាល់ត្រី จี ทป็วฺล ตเร็ย – ผักพลูคาว หรือ คาวตอง
ត្រប់ ตร็อบ – มะเขือ
ត្រប់ពុតលំញង ตร็อบ ปดลุมโญง – มะเขือพวง
ប៉េងប៉ោះ เปงเปาะฮ – มะเขือเทศ
ត្រប់វែង ឬ ត្រប់ក្ដគោ ឬ ត្រប់ប្លោកគោ ตร็อบ แวง หรือ ตร็อบ กะดอโก หรือ ตร็อบ พลอฺก โก – มะเขือยาว
ម្ទេស มเตฮ – พริก
ត្រឡាច ตรอลาจ – ฟักเขียว
ឃ្លោក คโลก – น้ำเต้า
ននោង โนโนง – บวบ
ម្រះព្រៅ มเรียะฮ ปเริว็ – กระเพรา
ទំពាំង ตุมเปีย็ง – หน่อไม้
ក្រូចសើច กโรจ เซิจ – มะกรูด
ក្រូចឆ្មារ กโรจ ชมา – มะนาว
ល្ពៅ ละเปิว็ – ฟักทอง
អង្គាដី อ็องเกีย เด็ย – แค
ល្ងៀងลเงียง – ติ้ว
ថ្ងាន់ ทงัน – กุ่มบก
ទន្លា ตนเลีย – กุ่มน้ำ
ដំឡូង ด็อมโลง – มัน
ដំឡូងជ្វា ด็อมโลง ชเวีย – มันเทศ (สงสัย เข้าใจว่าเอามาจากชวา)
ដំឡូងមី ด้อมโลง มี – มันสัมปะหลัง
អំពិលទុំ อ็อมปึล (-เปิล็) ตุม – มะขามเปียก
ត្រាវ ตราว – เผือก
ម្រំ มรุม – มะรุม
ខ្ទឹមស คตึม ซอ – กระเทียม
ខ្ទឹមក្រហម คตึม กรอฮอม – หอมแดง
ខ្ទឹមបារាំង คตึม ปารัง – หอมหัวใหญ่
ដើមខ្ទឹម เดิม คตึม ស្លឹកខ្ទឹម ซเลอะก์ คตึม- ต้นหอม
ការ៉ុត การอต – แครอท
សាលាដ ซาลัต – ผักสลัด
ម្អម มะออม – ผักขะแยง
ត្រសក់ ตรอเซาะ – แตงกวา
ម្រះ มเรียะฮ – มะระ
ខ្ញី คเญ็ย – ขิง
រំដេង รุมเดง – ข่า
ស្លឹកគ្រៃ ซเลอะก์ กเร็ย – ตะไคร้
ខ្ជាយ คเจียย – กระชาย
ម្រេច มเรกจ์ – พริกไทย
ត្រយូងចេក ตรอโยง เจก – ปลีกล้วย
កណ្ដោល ก็อนดอล – กระโดน
ស្លាបច្រវ៉ា ซลาบ จรอวา – สันตะวา
ត្រដៀតប៉ោង ตรอเกียด ปอง – ตาลปัตรฤๅษี
ផ្កាស្រលិត ผกา ซรอเลิต็ – ดอกสลิด หรือ ดอกขจร
អង្កាញ់ อ็องกัญ – ขี้เหล็ก
ស្អំ ซอ็อม – ชะอม
តាំងអ ឬ គុយឆាយ ตังออ หรือ กุยชาย – คึ่นช่าย
ភ្លៅកង្កែប พเลิว็ ก็องแกบ(น่องกบ) – ผักชีล้อม (เขมรกินกับขนมจีน)
ផ្កាកំប្លោក ผกา ก็อมพลอก – ผักตบชวา (เขมรเอาดอกกินกับขนมจีน)
ថ្នឹង ทเนิง็ – ส้มลม (เขมรนำมาใส่แกง)

ផ្លែឈើ พแล เชอ – ผลไม้

ប៉ោម ឬ ប៉ម ปาว์ม หรือ ปอม – แอบเปิ้ล
ត្របែក ตรอแบก – ฝรั่ง
ចេក เจก – กล้วย
ចេកអំបូង เจก อ็อมโบง – กล้วยหอม
ក្រូច กโรย์จ – ผลไม้ตระกูลส้มทั่วไป
ក្រូចខ្វិច กโรจ ควิจ – ส้ม พวกส้มจีน สีเหลืองๆ
ក្រូចថ្លុង กโรจ ทลง – ส้มโอ
ស្រកានាគ ซรอกา เนียะก์ – แก้วมังกร
មង្ឃុត มงคุต – มังคุด
ល្មុត ลมุต – ละมุด
មៀន เมียน – ลำไย
ម្កាក់ มะกะ – มะกอก
ល្ហុង ลฮง – มะละกอ
ឪឡឹក เอิว็เลิก็ – แตงโม
ត្រសក់ស្រូវ ตรอเซาะ ซเริว็ – แตงไทย
ស្វាយ ซวาย – มะม่วง
គូលេន กูแลน – ลิ้นจี่
ម្នាស់ มะนัวฺะฮ – สับปะรด
សាវម៉ាវ ซาวมาว – เงาะ
ធូរេន ทูเรน – ทุเรียน
ដូង โดง – มะพร้าว
ពោត โปต – ข้าวโพด
ទៀប เตียบ – น้อยหน่า
ទៀបបារាំង เตียบ ปารัง – ทุเรียนเทศ
ខ្នុរ คนล หรือ คนาว – ขนุน
ពុទ្រា ปุตตเรีย – พุทรา
ទំពាំងបាយជូ ตุมเปีย็งบายจู – องุ่น
ក្រខុប กรอคบ – ตะขบ
កំពីងរាជ ก็อมปีง เรียจ – กระท้อน
ព្នៅ ปเนิว – มะตูม
សណ្ដាន់ ซ็อน ดัน – มะดัน

ផ្សេងៗ พเซง ๆ อื่น ๆ

ក្រូចង៉ាំង៉ូវ กโรย์จ งำโง็ว – มะนาวดอง
យីហ៊ឺ ยีฮือ – ปลาหมึกแห้ง
បង្គាក្រៀម បង្គាក្រៀម – กุ้งแห้ง
តាំងហ៊ុន ឬ មីសួ ตังฮุน มีซัว – วุ้นเส้น
ប៉េះគក់ แปะกัวะ – มันแกว
ស្វាយចន្ទី ซวาย จันตี – มะม่วงหิมพานต์

ปรับปรุงและเพิ่มเติมจาก http://www.d-looks.com/showblog.php?Bid=18737

សាលាដបង្គា-สลัดกุ้ง ภาษาเขมรวันละคำ

image

ภาษาเขมร : សាលាដបង្គា
อ่านว่า : ซาหลาด บ็อง เกีย
แปลว่า : สลัดกุ้ง
ภาษาอังกฤษ : Shrimp Salad

ตัวอย่าง : ខ្ញុំញ៉ាំសាលាដបង្គានៅភោជនីយដ្ឋានមួយកន្លែងនៅខេត្តសៀមរៀប។
อ่านว่า : คญม ญำ สลัด บ็องเกีย เนิว โคชนียะทาน มวย ก็อน แลย์ง เนิว แคย์ด เซียม เรียบ
แปลว่า : ฉันได้กินสลัดกุ้งที่ภัตคารแห่งหนึ่งที่จังหวัดเสียมเรียบ

Animator vs Animation ภาค 4 กลับมาแล้ว

เชื่อว่าหลายๆ คนคงเคยดูคลิปวิดีโอที่ชื่อว่า Animator vs Animation กันมาแล้วทั้ง 3 ภาค และคงสงสัยว่าคนทำคลิปนี้เขาหยุดสร้างไปแล้วหรือยังไง ถึงไม่มีคลิปใหม่ๆ ออกมาให้ดูเลย เอาเป็นเราไปดูกันให้หายคิดถึงได้เลย เพราะหลังจากหายหน้าหายตาไปนาน ไประดมทุนในเว็บไซต์ kickstarter.com เป็นเวลากว่า 3 ปี ล่าสุด Alan Becker เจ้าของคลิปวิดีโอดังกล่าว ได้กลับมาพร้อมคลิปภาคใหม่ Animator vs Animation IV ส่วนจะสนุกสร้างสรรค์ขนาดไหน เราไปดูพร้อมๆ กันเลยดีกว่า

สำหรับใครที่ยังไม่เคยดู Animator vs Animation มาก่อนเลย ตามมาดูกันในคลิปด้านล่างนี้ได้เลยครับ

Animator vs. Animation I

Animator vs. Animation II

Animator vs. Animation III

ណែម-แหนมเนือง ภาษาเขมรวันละคำ

image

ภาษาเขมร : ណែម
อ่านว่า : แณย์ม
แปลว่า : แหนม
ภาษาอังกฤษ : fish spring rolls

ตัวอย่าง : ណែមជាអាហារប្រចាំប្រទេសវៀតណាម។
อ่านว่า : แนย์ม เจีย อาฮา ปรอจำ ปรอเต๊ะฮ์ เวียดนาม
แปลว่า : แหนมเป็นอาหารประจำชาติเวียดนาม

នំបញ្ចុក-ขนมจีน ภาษาเขมรวันละคำ

image

ภาษาเขมร : នំបញ្ចុក
อ่านว่า : นม บ็อย์ญ จก/ นม บัย์ญ จก
แปลว่า : ขนมจีน
ภาษาอังกฤษ : Thai/Khmer noodle

ตัวอย่าง : ឃ្លានហើយនៅ? ញ៉ាំនំបញ្ចុកមួយចានសិនល្អទេ?
อ่านว่า : คเลียน เฮิว์ย เนิ๊ว? ญำ นม บัย์ญ จก มวย จาน เสิน ละออ เต๊?
แปลว่า : หิวแล้วหรือยัง? เอาขนมจีนสักจาน/ถ้วยก่อนดีไหม?

ត្រចៀកទ្វា-บานพับประตู ภาษาเขมรวันละคำ

image

ภาษาเขมร : ត្រចៀកទ្វា
อ่านว่า : ตรอ เจียะก์ ทเวีย
แปลว่า : บานพับ
ภาษาอังกฤษ : Hinge

ตัวอย่าง : ត្រចៀកទ្វាបន្ទប់ខ្ញុំលឺសំលេងខ្លាំងណាស់។
อ่านว่า : ตรอ เจียะก์ ทเวีย บ็อนต็บ คญม ลือ ซ็อมเลง คลัง น่ะฮ์
แปลว่า : บานพับประตูห้องผมเสียงดังมาก

สัญลักษณ์เหล่านี้ มีไว้ทำไม?

14240670_ml[1]เชื่อว่าหลายๆ คนคงรู้จักเจ้าสัญลักษณ์ © ® ™ นี้แล้วแต่ก็คงมีบางคนที่ไม่รู้ความหมายว่ามันคืออะไร และเค้ามีไว้เพื่ออะไรกันซึ่งก่อนอื่นเราต้องมาทำความเข้าใจกับความหมายของคำว่า ‘ลิขสิทธิ์’ กันก่อนดีกว่า

          ลิขสิทธิ์ หมายถึง สิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ริเริ่ม โดยการใช้สติปัญญาความรู้ ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหะของตนเองในการสร้างสรรค์ โดยไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น โดยงานที่สร้างสรรค์ต้องเป็นงานตามประเภทที่กฎหมายลิขสิทธิ์ให้คุ้มครอง โดยผู้สร้างสรรค์จะได้รับความคุ้มครองทันทีที่สร้างสรรค์โดยไม่ต้องจดทะเบียนแล้วก็มาดูเรื่องสัญลักษณ์กันต่อ

© ตัว C ในวงกลมนั้นคือคำว่า Copyright แสดงว่างานชิ้นนั้นมีลิขสิทธิ์ เป็นงานที่เจ้าของได้สร้างขึ้นมาเอง หรืองานที่ได้ขออนุญาตจากเจ้าของผลงานอย่างถูกต้องครบถ้วนแล้ว หรือเป็นไปอย่างชอบธรรมเป็นลิขสิทธิ์ ใช้กับงานสร้างสรรทุกประเภท ได้รับความคุ้มครองทันทีที่สร้างขึ้นโดยไม่ต้องจดทะเบียนไม่ใช่แอบเอาของคนอื่นมาแล้วมาติด © แบบนี้ไม่ได้นะ ผิดนะจ๊ะ

(cc) มาจากคำว่า Some Right Reserve ซึ่งแปลได้ความหมายคือสงวนลิขสิทธิ์บางส่วนสามารถเอาไปใช้ได้ในกรณีที่ไม่ใช่การค้า หรือแสวงผลประโยชน์ กำไร เป็นต้น และต้องระบุเจ้าของด้วยง่ายๆ คือ ต้องใส่เครดิตเจ้าของผลงานด้วยนั่นเอง

® ตัว R ในวงกลมนั้นคือคำว่า Registered Trademark หมายถึง เครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนอย่างถูกต้องแล้ว ความหมายของมันคือ ห้ามลอกห้ามก็อปปี้ทั้งหมดเชียวนะเออ

สองตัวนี้ ย่อมาจากคำว่า Trade Mark หมายถึง เครื่องหมายการค้าอันได้แก่ คำ หรือรูปภาพที่แสดงความเป็นตัวตน เป็น subset ของลิขสิทธิ์ชนิดหนึ่ง ซึ่งจะจดทะเบียนหรือไม่จดทะเบียนก็ได้

® และ ™ จะใช้กับชื่อเฉพาะ เช่น Coca Cola , Microsoft เป็นต้น

ขอฝากเรื่องสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตรด้วยแล้วกัน เพราะเห็นช่วงนี้มีแต่คนโดนละเมิดสิทธิบัตรอยู่บ่อยๆ(ขอบคุณข้อมูลจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา)

«» สิทธิบัตร (Patent) หมายถึง หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ (Invention) หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) ที่มีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนด เป็นสิทธิพิเศษที่ให้ผู้ประดิษฐ์คิดค้นหรือผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์ มีสิทธิที่จะผลิตสินค้า จำหน่ายสินค้าแต่เพียงผู้เดียวในช่วงระยะเวลาหนึ่ง

อนุสิทธิบัตร (Petty Patent) คือ  หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์จะมีลักษณะคล้ายกันกับการประดิษฐ์ แต่เป็นความคิดสร้างสรรค์ที่มีระดับการพัฒนาเทคโนโลยีไม่สูงมาก หรือเป็นการประดิษฐ์คิดค้นเพียงเล็กน้อย และมีประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น «»

หวังว่าข้อมูลเล็กๆ น้อยๆ ที่เราเสนอในวันนี้ จะสร้างความเข้าใจ และสร้างต่อมจิตสำนึกที่ดีให้กับทุกคน เพราะชื่อว่าทุกคนอยากเห็นคนไทย คิดเอง ทำเอง ไม่ก๊อปเค้ามาแล้วนำมาปรับนู่นนี่นิดหน่อยให้ไม่เหมือนเป๊ะๆ แล้วมาอ้างว่า “เป็นแรงบันดาลใจ” !!???