สมอไทย เชื่อว่าเพื่อนๆ หลายคนคงรู้จักกันเป็นอย่างดี ผล สามารถนำมารับประทานได้ นอกจากนี้สมอ ยังมีสรรพคุณทางยาอีกด้วย ก่อนจะไปดูสรรพคุณเรามีดูรายละเอียดของสมอกันก่อน
ชื่อสมุนไพร สมอไทย
ชื่ออื่นๆ สมอ (นครราชสีมา) ม่าแน่ (เชียงใหม่) สมอไทย สมออัพยา (ภาคกลาง) หมากแน่ะ (แม่ฮ่องสอน) มะน่ะ หมากนะ ส้มมอ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Terminalia chebula Retz.
ชื่อพ้อง Terminalia parviflora Thwaites, T. tomentella Kurz
ชื่อวงศ์ Combretaceae
สรรพคุณของสมอไทย
ตำรายาไทยใช้ ผล รสเปรี้ยวฝาด ขมชุ่ม เป็นยาสุขุม ผลอ่อนจะมีฤทธิ์เป็นยาระบาย และสมานลำไส้ ผลแก่จะมีฤทธิ์ฝาดสมาน นอกจากนี้ยังใช้อมกลั้วคอแก้เจ็บคอ ออกฤทธิ์ต่อปอด กระเพาะ และลำไส้ ใช้เป็นยาสมานลำไส้ ห้ามเลือดทั้งภายในและภายนอก เป็นยาละลายเสมหะ ขับเสมหะ ทำให้ปอดชุ่มชื่น แก้หลอดลมอักเสบ คออักเสบ เสียงแหบ แก้ไอ ลิ้นไก่อักเสบ แก้ลำไส้อักเสบเรื้อรัง แก้ท้องผูก โรคท้องมาน แก้ท้องร่วงเรื้อรัง ถ่ายเป็นเลือด ริดสีดวงทวาร เลือดออก สมานแผลในลำไส้ แก้ท้องเสีย เป็นยาระบายรู้ถ่ายรู้ปิด แก้บิดเรื้อรัง แก้กามเคลื่อน แก้สตรีตกเลือด ปัสสาวะบ่อย และเป็นยาเจริญอาหาร เป็นยาระบาย แก้ปวดท้อง เป็นยาบำรุง แก้เจ็บคอ ขับน้ำเหลืองเสีย นำผลมาบดละเอียดโรยแผลเรื้อรัง แก้ลมจุกเสียด ช่วยเจริญอาหาร เนื้อหุ้มเมล็ด แก้ท้องผูก แก้บิด แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ รักษาโรคเกี่ยวกับน้ำดี ตับม้ามโต โรคท้องมาน อาเจียน อาการสะอึก โรคหืด และท้องร่วงเรื้อรัง เปลือกต้น ขับปัสสาวะ บำรุงหัวใจ ขับน้ำเหลืองเสีย เปลือกต้นและแก่น แก้ท้องเสีย ทั้งต้น ขับเสมหะ แก้เสียวคอ แก้ท้องผูก เป็นยาฝาดสมาน ดอก รักษาโรคบิด
ที่มา : สมุนไพรไทย