งานเทศกาลแซนโฎนตา
เทศการแซนโฎนตา ฟังดูแปลกๆ หลายคงคงสงสัยว่าคืออะไร หมายความว่าอย่างไร
แซนโฎนตา สามคำนี้มีความหมายดังนี้
แซน(សែន) แปลว่า เซ่น
โฎน (ដូន) แปลว่า ยาย ซึ่งในภาษาเขมรไม่ได้แยกระหว่างปู่ ย่า ตา ยาย เขมรจะเรียกพ่อของพ่อ หรือของแม่ว่า ตา(តា) หรือ จีตา(ជីតា)
แล้วเรียก แม่ของพ่อ หรือ แม่ ว่า เยียย(យាយ) หรือ โฎน (ដូន) หรือ จีโฎน (ជីដូន)
อีกอย่าง ถ้าเราเจอผู้สูงอายุทุกคนที่เป็นผู้หญิง เราจะเรียกท่านว่า เยียย หมดเลย แล้วถ้าเป็นผู้ชายจะเรียกท่านว่า ตา หมดเหมือนกัน
เพราะฉะนั้น เทศกาล แซนโฎนตา หมายถึงงานเซ่นไหว้ระลึกถึงบุญคุณของบรรพบุรุษของเราที่ได้ล่วงลับไปแล้วนั่นเอง
แต่แท้จริงแล้ว ชาวกัมพูชาเราไม่ได้เรียกเทศกาลนี้ว่าแซนโดนตาเหมือนชาวเขมรท้องถิ่นที่เมืองไทยเลย เราเรียกเทศกาลนี้ว่า โบ่น พจุม เบ็น (បុណ្យភ្ជុំបិណ្យ) ซึ่งแปลว่าเทศกาลร่วมญาติ โบ่น พจุม เบ็น ของชาวเขมรที่กัมพูชาจัดขึ้น 15 วัน ตามปฏิทินเขมรโบราณ โดยวันแรกถึงวันที่14 เขาจะเรียกว่า เบ็น 1 เบ็น 2 – เบ็น 14 แล้ววันสุดท้ายจะเรียกว่า โบ่น พจุม เบ็น
การจัดงานเทศกาลแซนโฎนตา หรือ โบ่น พจุม เบ็น แต่ละพื้นที่จะมีสักษณะแตกต่างกันไปแต่จะมีแนวทางเดียวกันคือร่วมญาติพี่น้องแล้วเซ่นไหว้อุทิศกุศลให้บรรพบุรุษ โดยส่วนใหญ่แล้วที่กัมพูชาเราจะจัดขึ้นที่วัดอย่างเดียว โดยในวันเบ็นที่ 1-14 เราจะเด็กน้อยหนุ่มสาวจะตื่นไปวัดตั้งแต่ตี 2 ตี 3 นำขนม ผลไม้ ข้าวเหนียวทำเป็นก้อน ๆ เรียกว่า บาย เบ็น แล้วไปวางในภาชนะที่พระเตรียมไว้ให้ เพื่ออุทิศให้บรรพบุรุษของเรา แล้วก็เตรียมอีกจานหนึ่งไว้ถือแล้วโยนไปให้ผีเปรตที่ไม่มีญาติอุทิศกุศลให้ พอพร้อมเพรียงกันแล้วประมาณตอนตี 5 พระก็จะสวดอุทิศบุญกุศล จักนั้น เขาก็ยกบายเบ็นทั้งหมดไปแห่รอบโบสถ์สามรอบแล้วไปเทบนใบไม้ที่นอกกำแพงวัด โดยจะเวียนไปตามทั้งแปดทิศของวัด
ถ้าจะเล่าเรื่องงานเทศกาลนี้คงนานอ่ะครับ วันนี้เอาแค่นี้ก่อน ถ้ามีผิดพลาดตรงไหน ก็ช่วยบอกด้วยน่ะครับ
ขอบคุณครับ