การใช้สระภาษาไทย ស្រៈថៃ

สระต่างๆ ที่เราเปล่งเสียงออกมาทางภาษาพูด  ย่อมไม่มีพลิกแพลงอย่างไร  เพียงแต่ลั่นสำเนียงให้ชัดเจนเป็นที่รู้กันได้ก็นับว่าพอแก่ความต้องการในทางภาษาแล้ว  แต่ในภาษาหนังสือ  ต้องการความหมายแสดงประจักษ์ทางตาเป็นที่สำคัญ  เพราะฉะนั้นจึงมีระเบียบและวิธีเขียนที่ต้องอาศัยหลักเกณฑ์ละเอียดกว่าภาษาพูด  เพราะนอกจากจะเป็นเครื่องหมายให้รู้ทางตาแล้ว  ยังต้องใช้เป็นเครื่องหมายนำในการออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจนด้วย  ผู้ศึกษาจึงจำเป็นต้องรู้หลักการใช้และการเขียนให้เหมาะสมกับยุคสมัยที่ภาษาได้เจริญก้าวหน้าไปตามจังหวะของมัน  เพราะฉะนั้นการการใช้และการเขียนจึงมักมีการเปลี่ยนแปรแก้ไขได้เป็นครั้งคราวแต่มีหลักสังเกตในเบื้องต้น  คือบรรดาสระในภาษาไทย  (ยกเว้น  ฤ  ฤๅ  ฦ  ฦๅ)  จะใช้เขียนตามลำพังไม่ได้ต้องใช้คู่กับพยัญชนะเสมอ  แม้สระที่เราต้องการจะใช้โดดๆ ซึ่งเรียกว่าสระลอยจะต้องมีตัว    กำกับอยู่ด้วยเสมอ  เช่นคำว่า  อิน  อุ่น  อ่าน  จะเขียนแต่สระไม่ได้เพราะในวลีหรือประโยคเดียวกันเราเขียนคำติดต่อเป็นพืดเดียวกัน  ไม่มีเว้นวรรคเป็นคำๆ  เหมือนภาษาบาลีสันสกฤตและภาษาตระกูลยุโรป  ถ้าไม่มีตัว กำกับอยู่ด้วย  ก็จะทำให้สระลอยเหล่านั้นไปติดกับตัวพยัญชนะที่มาข้างหน้า   ทำให้เกิดความฉงนในการอ่าน  เช่น  นอน  ่าน  (นอนอ่าน)  ถ้าเขียนติดกันก็จะเป็น  นอน่าน  ไป  เพราะฉะนั้นการเขียนรูปสระที่ติดตามลำพังจึงต้องมีตัว    กำกับอยู่ด้วย  ต่อไปนี้จะได้อธิบายหลักเกณฑ์การใช้สระบางตัวที่มีเสียงซ้ำกันแต่มีรูปต่างกัน  หรือมีวิธีเขียนที่จำต้องกำหนดพิเศษ  ส่วนสระที่เขียนตามปกติ  ไม่มีวิธีพลิกแพลงอย่างไรจะไม่อธิบายไว้ในที่นี้

ស្រៈ​ភាសាថៃ-สระภาษาไทย

ស្រៈ​ភាសាថៃ-สระภาษาไทย

สระอะ

          สระอะ  มีวิธีใช้  ๔  อย่าง  คือ  :-

ก. คงรูป  คือต้องประวิสรรชนีย์  (-ะ)  ข้างหลังพยางค์ทุกพยางค์ที่ออกเสียง  อะ  ในกรณีดังนี้ :-
๑. เป็นพยางค์ของคำไทยแท้  เช่น  :- กะบะ  กะทะ  มะระ  ปะทะ  ฯลฯ  มีข้อยกเว้นบ้างซึ่งจะกล่าวในข้อ  ข.
๒. เป็นพยางค์สุดท้ายของคำบาลี  สันสกฤต  และภาษาอื่นๆ เช่น  :-  สรณะ  คณะ  อิสระ  อาสนะ  เอเดนเบอระ  ฯลฯ
๓. เป็นพยางค์ของคำในภาษาอื่นนอกจากภาษาบาลีสันสกฤต  และภาษาตระกูลอินเดีย  ยุโรป  เช่น :-  บะหมี่  แป๊ะซะ  ตือบะ  ซากุระ  โอสุกะ  กะจับปี่  มะเดหวี    มะงุมมะงาหลา  มะตาหะรี  อะแซหวุ่นกี้     โปมะยุง่วน  ฯลฯ
๔. เป็นพยางค์หน้าของคำ  ซึ่งออกเสียง  กระ  ตระ  ประ  พระ  ไม่ว่าภาษาใดๆ  เช่น  :-  กระติก  กระถาง  กระแหม่ว  กระจาย  กระฎุมพี  กระษาปณ์  กระสูทธิ์  กระฎี  ตระกูล  ตระกอง  ตระคัร  ตระ-ลาการ  ประกาศ  ประณีต  ประสิทธิ์  ประสาท  พระหารัณย์  พระหาวัน  พระหาสุข  ฯลฯ
หมายเหตุ  :  พยางค์เดิมที่เป็น  “ ชะ ”  ถ้าเพิ่มตัว  “ ร ”  เข้าข้างหลัง  ให้ประวิสรรชนีย์เฉพาะที่ตัว  “ ร ”  เท่านั้น  เช่น  :-
ชระง่อน เดิมเป็น             ชะง่อน
ชระมด                       ”                   ชะมด
ชระลอ                       ”                   ชะลอ
ชระแลง                     ”                   ชะแลง
ชระลูด                        ”                   ชะลูด

ข. ลดรูป  คือไม่ต้องประวิสรรชนีย์  (-ะ)  ในพยางค์ที่ออกเสียง  อะ  แต่ต้องออกเสียงเป็น  อะ  เหมือนมีวิสรรชนีย์กำกับอยู่ด้วย  ในกรณีต่อไปนี้:-

๑. เป็นพยางค์ที่เป็นอักษรนำ  เช่น  :-  นม  ยัน  ยะ  ลอง  นอม  นวช  นวก  รั่ง  รั่น  มาน  มิง  ฯลฯ  ทั้งนี้เพราะตัวนำกับตัวตามเป็นตัวเดียวกัน  เพราะเป็นอักษรประสม

๒. เป็นคำยกเว้น  ซึ่งใช้เขียนไม่มีประวิสรรชนีย์มาแต่โบราณและรับรองกันว่าถูกต้อง  ไดแก่คำ :-

ณ         ที่แปลว่า            ใน, ที่  เช่น :-    ที่นั้น
ท              ”                   คน, ท่าน, ผู้  เช่น :-  แกล้ว  =  คนแกล้ว,  นาย  =  คนผู้เป็นนาย
ธ              ”                   ท่าน, เธอ  เช่น :-    ประสงค์ใด…
พ              ”                   พ่อ, พระ  เช่น :-  นักงาน  =  พ่อคนงาน, นาย =  พ่อนาย
พณ          ”                   พ่อเหนือ,  พระเหนือ  เช่น :-  พณหัว  =  พ่อเหนือหัว,  พณหัวเจ้า  =  พ่อเหนือหัวเจ้า, พณหัวเจ้าท่าน  =  พ่อเหนือหัวเจ้าท่าน  ทั้ง  ๓  คำนั้น  ใช้เขียนย่อเป็นอย่างเดียวกันว่า  ฯพณฯ  จะอ่านว่า  พณหัว,  พณหัวเจ้า  หรือ  พณหัวเจ้าท่าน  ก็ได้  แต่ปัจจุบันนี้นิยมให้อ่านว่า พะนะท่าน  (บัญญัติให้อ่านเช่นนี้หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว พ.ศ. ๒๔๗๕)

๓. เป็นตัวสะกดในคำไทยบางคำซึ่งนิยมออกเสียงตัวสะกดเป็นพิเศษ  เช่น :-  สปรก  จัจั่น  ตั๊แตน  สัยอก  สัหงก  สัดน  อหม่าน ฯลฯ

๔. เป็นพยางค์ที่แผลงมาจากคำเดิมซึ่งไม่มีวิสรรชนีย์หรือไม่ประวิสรรชนีย์  เช่น :-

ชรไม                 เดิมเป็น             ชไม
ชรโลง                   ”                   ชโลง
ชรอ่ำ                     ”                   ชอ่ำ
ชรอื้อ                     ”                   ชอื้อ
ชรอุ่ม                    ”                  ชอุ่ม

๕. เป็นพยางค์ที่ออกเสียงเบา  เช่น :-  ขโมย, ชนวน, สไบ ฯลฯ

๖. เป็นพยางค์ที่มิใช่อยู่สุดท้ายของคำบาลีสันสกฤตและคำในภาษาตระกูลอินเดีย  ยุโรป  เช่น :-  ติ  ริยา  อมรินทร์  ราภรณ์  อคติ  ตัญญู ราวาส  ฤษฏิ์  ปริง  ปัน  เมริกา  เวนตี้  ฯลฯ

หมายเหตุ  :  พยางค์สุดท้ายของคำบาลีและสันสกฤตซึ่งต้องประวิสรรชนีย์  เช่น  :-  อิสระ  คณะ  ฯลฯ  ถ้ามีคำอื่นมาประสมข้างหลังให้เป็นคำเดียวกันเรียกว่าคำสมาส  ในกรณีเช่นนี้ต้องตัดวิสรรชนีย์ออก  เช่น  :- อิสรภาพ  คณบดี  เพราะถือว่าเป็นคำเดียวกัน  และเมื่อเป็นคำเดียวกันตัว    กับ    ก็ไม่ใช่พยางค์สุดท้ายของคำ  จึงไม่ต้องประวิสรรชนีย์  ตามกฎข้อ  ๒  ก.

ค. แปลงรูป  คือแปลงวิสรรชนีย์เป็น

๑. ไม้หันอากาศ  ในเมื่อมีตัวสะกด  เช่น :-  กัน  =   กะ  +  น,  ขัง  =  ขะ  +  ง,  รัก  =  ระ  +  ก,  จัด  =  จะ  +  ด,  นับ  =  นะ  +  ด,  คัม  =  คะ  +  ม

ไม้หันอากาศ  ก็คือ  วิสรรชนีย์นั่นเอง  เมื่อมีตัวสะกด  จะเขียนไว้ข้างหลังพยัญชนะ  ก็อ่านออกเสียงไม่ตรงกับเสียงที่ต้องการ  จึงเอาวิสรรชนีย์ขึ้นไปเขียนไว้ข้างบนเพื่อให้เห็นว่าเป็นสระอะที่มีตัวสะกด  แต่ลดออกเสียอันหนึ่งคงเหลือไว้แต่อันเดียว  เพื่อสะดวกแก่การเขียนรูปวรรณยุกต์ไว้ข้างบน  เช่น  กัน กั่น กั้น กั๊น กั๋น  ถ้าเขียนวิสรรชนีย์ไว้ทั้งสองอันจะเกะกะรุงรังมาก  อีกประการหนึ่งรูปจะไม่ซ้ำกับ  ไม้หันอากาศและไม้โท ที่อยู่ด้วยกัน เพราะเวลาเขียนหวัดหรือเขียนรูปไม่ชัด รูป –ะ  กับ  อั้น  จะคล้ายกันมาก  การตัดวิสรรชนีย์ให้เหลือไว้แต่รูปเดียว  จึงสะดวกทั้งการเขียนและการอ่าน

๒. อักษรหัน  คือเปลี่ยนวิสรรชนีย์ให้เป็นพยัญชนะตัวเดียวกับตัวสะกด  เช่น :-  กนน  =  กัน, ขงง  =  ขัง,  รกก  =  รัก,  จดด  =  จัด,  นบบ  =  นับ,  คมม  =  คัม,  สรร  =  สัร,  จรร  =  จัร

อักษรหันนี้  โบราณนิยมใช้มาก  และบรรดาพยัญชนะที่ใช้เป็นตัวสะกดได้ย่อมใช้เป็นอักษรหันได้ทุกตัว  แต่บัดนี้นิยมใช้แต่    ตัวเดียวเท่านั้น  เรียกว่า  ร  หัน  เช่น  ธรรมดา,  กรรม,  สรรพ,  สรร,  จรรยา ฯลฯ

หมายเหตุ  :-  ๑.  อักษรหันจะต้องแทนหันอากาศ  ที่เรียกว่าอักษรหันนั้น  ก็เพราะย่อมมาจากอักษรหันอากาศ  คืออักษรที่ทำหน้าที่แทนหันอากาศ

๒.  อักษรหันจะต้องมีตัวเดียว  ไม่ใช่  ๒  ตัว  เช่น :-  สรร    ตัวหน้าเป็นอักษรหันหรือเรียกว่า    หัน  ส่วน    ตัวหลังเป็นตัวสะกด

๓.  อักษรหันจะต้องเป็นอักษรที่มีรูปเช่นเดียวกับตัวสะกดและต้องอยู่หน้าตัวสะกดเสมอ

ง.  ตัดรูปและตัดเสียง  เช่น :-  อนุช  เป็น  นุช,  อดิเรก  เป็น  ดิเรก,  อภิรมย์  เป็น  ภิรมย์,  อเนกอนันต์  เป็น  เนกนันต์  (ออกเสียงเหมือนคำเดิม)  ฯลฯ

สระอื

สระอื  มีวิธีใช้  ดังนี้ :-

๑.  ต้องมีตัว    กำกับซึ่งเติมเข้ามา  เมื่อใช้ในพยางค์ที่ไม่มีตัวสะกด  พยางค์ที่ไม่มีตัวสะกดนั้นได้แก่พยางค์ในแม่  ก  กา  เช่น :-  มือ  ถือ  ลือ  หวือ  คือ  ฮือ ฯลฯ

๒.  ไม่ต้องมีตัว    กำกับ  เมื่อใช้ในพยางค์ที่มีตัวสะกด  เช่น :-  คืน  ยืน  ฝืน  ผืน  มืด  ยืด  คืบ  หลืบ  ฟืม  ยืม

สระ  เอะ  แอะ

สระเอะ,  แอะ  มีวิธีใช้  ดังนี้ :-

๑.  คงรูป  ใช้ในที่ทั่วๆ ไป  เช่น :-  เละ  เฟะ  เตะ  เผละ  แพะ  แกะ  และ  แฉะ ฯลฯ

๒.  แปลงรูป  คือแปลงวิสรรชนีย์เป็นไม้ไต่คู้  ในเมื่อมีตัวสะกด  เช่น :-

เก็ง       =              ก          +              เอะ         +              ง
เพ็ง       =              พ          +              เอะ         +              ง
เข็ญ      =              ข          +              เอะ         +              ญ
แข็ง      =              ข          +              แอะ        +              ง
แม็ก      =              ม          +              แอะ        +              ก
ฯลฯ

สระโอะ

สระโอะ  มีวิธีใช้  ดังนี้ :-

๑.  คงรูป  ใช้ทั่วไป  ในเมื่อไม่มีตัวสะกด  เช่น :-  โกะ  โปะ  โละ  โผละ  ฯลฯ

๒.  ลดรูป  คือตัวรูปสระโอะออกทั้งหมด  คงไว้แต่พยัญชนะที่ถูกสะกด  วิธีนี้ใช้ต่อเมื่อมีตัวสะกดเท่านั้น  เพราะฉะนั้น  บรรดาพยัญชนะที่ไม่มีรูปสระกำกับ  ถ้ามีตัวสะกด  ให้พึงเข้าใจว่าเป็นสระโอะลดรูปทั้งสิ้น  เช่น :-

กง        =          ก          +          โอะ       + ง
คน        =          ค          +          โอะ       + น
กก        =          ก          +          โอะ       + ก
มด        =          ม          +          โอะ       + ด
พบ       =          พ          +          โอะ       + บ
สม        =          ส          +          โอะ       + ม
ฯลฯ

หมายเหตุ :-  มียกเว้นอยู่ตัวหนึ่ง คือตัว  ร  ซึ่งใช้เป็นตัวสะกดสำหรับสระ  ออ  ลดรูปโดยเฉพาะ  เช่น  :-  จร  มรณ์  พร  ฯลฯ  ถ้าเป็นตัวสะกดอื่นนอกจากตัว  ร  ต้องเป็น  โอะ  ลดรูปทั้งสิ้น

สระเอาะ

สระเอาะ  มีวิธีใช้  ดังนี้ :-

๑.  คงรูป  ใช้ในที่ทั่วไป  เช่น :-  เกาะ  เมาะ  เบาะ  เหาะ  เพาะ  ฯลฯ

๒.  ลดรูป  คือตัดรูปเดิมออกทั้งหมดแล้วใช้ตัว    กับไม้ไต่คู้แทน  ในเมื่อมีตัวสะกด  เช่น :-

น็อต      =              น          +              เอาะ     +              ต
ค็อก      =              ค          +              เอาะ     +              ก
ล็อก      =              ล          +              เอาะ     +              ก
ฟ็อก      =              ฟ          +              เอาะ     +              ก
ฯลฯ

ถ้าประสมกับตัว  “ก”  และไม้วรรณยุกต์โท  แต่ไม่มีตัวสะกด  ให้ลดรูปทั้งหมด  แล้วใช้ไม้ไต่คู้แทนเป็น  “ก็”  อ่านว่า  “เก้าะ”  มีใช้อยู่ในภาษาไทยปัจจุบันเพียงคำเดียวเท่านั้น

สระออ

สระ ออ  มีวิธีใช้ดังนี้ :-

๑.  คงรูป  คือต้องมีตัว    กำกับอยู่ด้วยเสมอ  สำหรับการใช้กับคำไทยและคำในภาษาอื่นที่เรานำมาใช้ในภาษาไทย  (ยกเว้นคำบาลีสันสกฤตและคำไทยบางคำ)  เช่น :-  ขอ  พอ  พ่อ  หลอ  ขอน  คลอง  นอก  กอด  ตอบ  คอย  นอต  คอกเทล  ออกซิเจน  ฯลฯ

๒.  ลดรูป  คือตัดตัว    ออกเสียง  แต่คงอ่านเหมือนมีตัว    กำกับอยู่ด้วย ได้แก่ :-

ก.  คำไทยบางคำ คือ  บ  และ บ่  ที่แปลว่า  ไม่  แต่ถ้า  บอ  ที่แปลว่า  เกือบบ้า,  หรือ  บ่อ  ที่แปลว่า  หลุม  ต้องมีตัว    อยู่ด้วย , จระเข้  ที่แปลว่า  สัตว์น้ำชนิดหนึ่ง,  บโทน  ที่แปลว่าตำรวจชั้นขุนหมื่น

ข.  คำบาลีสันสกฤตและคำในภาษาอื่นบางคำที่ใช้    เป็นตัวสะกด  เช่น :-  กร  พร  จร  สมร  ขจร  ละคร ฯลฯ

ค.  คาบาลีและสันสกฤต  ที่พยางค์หน้าเป็น    แต่แผลงเป็น    เช่น :-  บดี  บพิตร  บรม  บรมัตถ์  บวร  บริการ  บริขาร  บริกรรม  บริจาค  บริบูรณ์  บริโภค  บริวาร  บริเวณ  บริภาษ  บริษัท  บริสุทธิ์

ง.  คำบาลีและสันสกฤตบางคำที่ออกเสียงตัว  จ  ท  ธ  น  ม  ว  ศ  ษ  ส  ห  อ  และมีตัว    ตามหลังพยัญชนะเหล่านั้น  เช่น :-

จ  :          จรดล  จรลี  จรลู่  จรล่ำ  จรล่อง  จรหลีก
ท  :       ทรพา  ทรพี  ทรกรรม  ทรชน  ทรชาติ  ทรธึก  ทรพิษ  ทรภาค  ทรยุค  ทรยศ  ทรลักษณ์  ทรหน  ทรหึง  ทรหู
ธ  :       ธรณี  ธรมาน  ธรมาธิกรณ์
น  :       นรชน  นรชาติ  นรการ  นรเทพ  นรนาถ  นรราช  นรเศรษฐ์  นรสิงห์
ม  :       มรคา  มรฑป  มรณะ  มรดก
ว  :        วรกาย  วรวรรณ  วรโฉม  วรลักษณ์
ศ  :       อศรพิษ
ษ  :       อักษรลักษณ์  อักษรเลข  อักษรศาสตร์
ส  :       สรลักษณ์  สรสิทธิ์
ห  :       หรดาล  หรดี  หรคุณ  มหรสพ
อ  :       อรชุน  อรพินท์  อรสุ

สระเออ

สระเออ  มีวิธีใช้  ดังนี้ :-

๑.  คงรูป  วิธีนี้ใช้ในพยางค์ทั่วไปที่ไม่มีตัวสะกด  เช่น :-  เธอ  เกลอ  เผอเรอ  เอ้อเฮอ  ฯลฯ  ในสมัยโบราณใช้ในพยางค์ที่มีตัวสะกดด้วย  เช่น :-  เศอก  เพลอง  เทิด  เลอก  เดอม  ฯลฯ  แต่ปัจจุบันนี้ไม่นิยมใช้  จะมีใช้อยู่ก็แต่หนังสือวรรณคดีที่ต้องการจะรักษาวิธีเขียนแบบเก่าไว้  ในการเขียนทั่วๆ ไปคงมีคำที่ใช้สระเออคงรูปและมีตัวสะกดอยู่เพียง  ๓  คำเท่านั้น  คือเทอญ  เทอม  และเยอว  นอกจากนี้  ถ้ามีตัวสะกดแล้วต้องแปลงรูปทั้งสิ้น

๒.  ลดรูป  คือ ลดตัว    ออกเสีย  ในเมื่อมีตัวสะกดในแม่เกย  (ตัว  ย  สะกด)  เช่น :-  เชย  เลย  เสย  เขย  เวย  เฮย  ฯลฯ

๓.  แปลงรูป  คือแปลงตัว    เป็น  อิ  ในเมื่อมีตัวสะกด  (ยกเว้นตัว    สะกดซึ่งอยู่ในแม่เกย) เช่น :-  เศิก  เพลิง  เถิด  เลิก  เพิก  เดิน  ฯลฯ  วิธีนี้คงใช้อยู่ทั่วไปในปัจจุบันเพราะอ่านได้สะดวกกว่าในข้อที่  ๑

สระเอีย

สระเอีย  มีวิธีใช้ดังนี้ :-

๑.  คงรูป  คือไม่เปลี่ยนแปลงรูปเป็นอย่างอื่น  จะมีตัวสะกดหรือไม่ก็ตาม  เช่น :-  เสีย  เลีย  เพลีย  เมีย  เสียง  เวียง  เรียน  เรียก  เขียด  เพียบ  ฯลฯ

๒.  ลดรูป  คือตัดไม้หน้ากับพินทุ  อี  ออก  คงไว้แต่ตัว    เช่น :-  สยง  =  เสียง,  วยง  =  เวียง,  รยน  =  เรียน,  รยก  =  เรียก,  ขยด  =  เขียด,  พยบ  =  เพียบ  ฯลฯ  วิธีนี้ใช้เขียนแต่ในสมัยโบราณ  ปัจจุบันนี้ไม่นิยมใช้แล้ว

สระอัวะ

สระอัวะ  มีวิธีใช้ดังนี้ :-

๑.  คงรูป  ใช้ในที่ทั่วไป  เช่น :-  ผัวะ  ผลัวะ  ยัวะ  ฯลฯ

๒.  ลดและแปลงรูป  คือ  ลดหันอากาศแล้วแปลงวิสรรชนีย์เป็นไม้ไต่คู้  ในเมื่อมีตัวสะกด เช่น  :-

ก็วง  =  ก  +  อัวะ  +  ง
ข็วก  =  ข  +  อัวะ  +  ก  ฯลฯ

สระอัว

สระอัว  มีวิธีใช้ดังนี้ :-

๑.  คงรูป  คือไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร  นิยมใช้ในที่ทั่วไป เช่น :-  มัว  กลัว  ผัว  วัว  ตัว  ฯลฯ  ถ้าเขียนคำในภาษาบาลี  หรือสันสกฤต  ให้ออกเสียงเป็น “เอา”  เช่น :-

สัวหโย               (สวฺหโย)            อ่านว่า   เสาวฺหโย
อุปัวหยันตา        (อุปวฺหยนฺตา)     อ่านว่า   อุเปาวฺหะยันตา  ฯลฯ

๒.  ลดรูป  คือลดไม้หันอากาศ  ในเมื่อมีตัวสะกด  เช่น :-

กวน      =          ก          +              อัว        +              น
พวก      =          พ          +              อัว        +              ก
รวบ       =          ร           +              อัว        +              บ
สวย      =          ส          +              อัว        +              ย
ควง      =          ค          +              อัว        +              ง
นวด      =          น          +              อัว        +              ด
สวม      =          ส          +              อัว        +              ม

๓.  แปลงรูป  คือแปลงหันอากาศเป็นตัว    ทำนองเดียวกับอักษรหัน  แต่ต่างกันที่ไม่มีตัวสะกด เช่น :-

หวว      =              หัว
ย่วว       =              ยั่ว
ตวว      =              ตัว
รวว       =              รัว
ฯลฯ

วิธีนี้นิยมเขียนแต่ในสมัยโบราณเท่านั้น  ปัจจุบันนี้ไม่นิยมใช้  การที่ท่านแปลงหันอากาศ  ที่สระ  อัว  มาเป็นตัว  ว  นี้  คงจะถือหลักแปลงวสรรชนีย์เป็นอักษรหัน  ซึ่งตามปกติจะต้องมีตัวสะกด,  เฉพาะสระ  “อัว”  โบราณท่านอาจจะถือว่าตัว  “ว”  เป็นตัวสะกด  เพราะเสียงอัวนี้ท่านจัดไว้ในแม่  เกย  ด้วย  ยิ่งกว่านั้นบางทีท่านเขียนเป็น  หวัว  ตวัว  รวัว  ฯลฯ  ด้วยซ้ำไป  และคงอ่านว่า  หัว  ตัว  รัว  เช่นเดียวกัน

สระฤ

สระ  ฤ  มีวิธีใช้  ๓  อย่างคือ :-

๑.  ใช้โดดๆ  แปลว่า  หรือ,ไม่  มักจะใช้ในคำประพันธ์  เช่น :-

ก.  ฤจะมี  =  หรือจะมี
ข.  ผาณิตผิชิดมด             จะอดบอาจจะมี
แม่เหล็ก    เหล็กดี        อยะยั่วก็พัวก็พัน…(อิลราช)
ฤ  =  หรือ
ค.  ฤ  บังควร  =  ไม่บังควร

๒.  ใช้เป็นพยางค์หน้าหรือหลังของคำที่มาจากสันสกฤต  เช่น :-  ฤดู  ฤษี  ฤดี  ฤชา  ฤคเวท  ฤกษ์  ฤทธิ์  ฤษยา  หฤทัย  นฤบดี  นฤทุกข์  นฤนาท  ฯลฯ

๓.  ใช้ประสมกับพยัญชนะ  คล้ายกับตัว    ควบเฉพาะคำที่มาจากบาลีสันสกฤตและคำเพี้ยนบางคำ  เช่น :-  กฤษณา  คฤหาสน์  ทฤษฎี  ปฤษฏางค์  พฤศจิกายน  กฤษฏีกา  (เพี้ยนมาจาก  กติกา)  อังกฤษ  (เพี้ยนมาจาก  อิงลิช)  โบราณใช้ประสมกับพยัญชนะในคำไทยแท้ก็ได้  เช่น :-  คฤกคฤน  ฯลฯ

สระฤๅ

สระฤๅ  มีวิธีใช้ดังนี้ :-

๑.  ใช้โดดๆ ไม่ประสมกับพยัญชนะ  แปลว่า  หรือ, อะไร, ไม่, ไม่ใช่, โบราณใช้ทั้งในร้อยแก้ว  และคำประพันธ์  แต่บัดนี้นิยมใช้ในคำประพันธ์เท่านั้น  เช่น :-  ฤๅเบา  =  ไม่เบา  ไม่ใช่น้อย  ทำฤๅ  =  ทำอะไร,  จนทรัพย์เพราะครุ่นคร้าน  เขลาใจ  ตนฤๅ  (ฤๅ  =  หรือ)

๒.  ใช้เป็นพยางค์หน้าของคำ  เช่น :-  ฤๅดี  =  ยินดี,  ฤๅสาย  =  เชื้อสายที่เลื่องลือ

หมายเหตุ  :  สระ  ฦ  ฦๅ  บัดนี้ไม่มีที่ใช้แล้ว  จึงไม่ต้องอธิบาย

สระใอ  (ไม้ม้วน)

การใช้สระใอ  ไม้ม้วน  และสระไอไม้มลาย  ในสมัยโบราณไม่สู้จะพิถีพิถันนัก  ท่านเพ่งเล็งถึงเสียงามกกว่ารูป  เพราะฉะนั้น  จึงใช้สลับสับสนกัน  ต่อมาท่านได้วางหลักเกณฑ์ให้ใช้ไม้ม้วนได้เพียง  ๒๐  คำและต้องเป็นคำไทยแท้  ได้แก่คำต่อไปนี้คือ :-

ใกล้  ใคร  ใคร่  ใจ  ใช่  ใช้  ได้  ใต้  ใน  ใบ
ใบ้  ใฝ่  ใย  สะใภ้  ใส  ใส่  ใหญ่  ใหม่  ใหล
ใน  ๒๐ คำนี้  มีอยู่  ๘  คำที่มีเสียงซ้ำกับไม้มลาย  คือ  :  ใจ  ใด  ใต้  ใน  ใย  ใส  ให้  ใหล  มีเสียงซ้ำกับ  ไจ  ได  ไต้  ไน  ไย  ไส  ไห้  ไหล  คำอื่นนอกจากนี้  เช่น  ใคร่ กับ ตะไคร่  ใบ กับ สไบ  จะเรียกว่าซั้นไม่ได้  เพราะเป็นคำพยางค์เดียวกับคำสองพยางค์  ย่อมแสดงความแตกต่างกันอยู่ในตัวแล้ว

คำทั้ง  ๘  นั้น  แม้จะเสียงพ้องกันในระหว่างไม้ม้วนกับไม้มลาย  แต่ก็มีหลักสังเกตในการใช้โดยอาศัยคำห้อมล้อม  (บริบท)  และความหมายเป็นสำคัญ  ดังจะเทียบเคียงแสดงความหมายให้เห็นความต่างกันดังต่อไปนี้ :-

คำไม้ม้วน                           เสียงซ้ำ                              คำไม้มลาย

ใจ-จิต  ศูนย์กลาง                                ”                              ไจ-ส่วนหนึ่งของเข็ดด้ายหรือไหม
ใด-อะไร,  สิ่งไร                                    ”                              ได-มือ
ใต้-ข้างล่าง,  ต่ำ,  ตรงข้ามกับเหนือ        ”                              ไต้-วัตถุใช้สำหรับจุดไฟ  (จุดไต้)
ใน-ข้างใน,  ภายใน,  ตรงข้ามกับนอก      ”                              ไน-เครื่องปั่นฝ้ายหรือไหม
ใย-สิ่งที่เป็นเส้นเล็กๆ ยาวๆ ขาวๆ,          ”                              ไย-ไฉน,  ทำไม, อะไร
นวลบาง  ผ่องใส
ใส-สว่าง,  สะอาด,  กระจ่าง                  ”                              ไส-เสือกไป,  ส่งไป
ให้-สละ,  มอบ,  อนุญาต                      ”                              ไห้-ร้อง  (ไห้)
ใหล-หลง                                           ”                              ไหล-เลื่อนไป,  เคลื่อนไป

เพื่อสะดวกแก่การจำ  ได้นำคำที่ใช้ไม้ม้วนทั้ง  ๒๐  มาร้อยกรองเป็นคำประพันธ์ไว้  ๓  แบบดังต่อไปนี้ :-

๑.  หลงใหลมิใช่ใบ้                               ใฝ่ใจ
ใครใคร่ในน้ำใส                                     โปรดใช้
ผู้ใดใหญ่ใกล้ใบ้                                     บัวต่ำ  ใต้แฮ
ใยใหม่ใส่จานให้                                     สะใภ้พึงจำ

๒.  ใจใหญ่ใฝ่ในใต้                               ใช่  ใบ้  ใกล้  ใคร  ใคร่  ใส
หลงใหลให้สะใภ้                                    ใช้  ใบ  ใหม่  ใส่  ใย ใด

๓.  บ้าใบ้หลงใหลใหญ่                          ให้สะใภ้ใช้น้ำใส
มิใช่อยู่ใกล้ใคร                                      ในจิตใจใฝ่แต่ดี
ผู้ใดใส่เสื้อใหม่                                       ใยบัวใต้ใบดีปลี
จะใคร่เรียนเขียนดี                                    ยี่สิบม้วนควรจดจำ

สระไอ  ไม้มลาย  (มลาย-เหยียด,  คลี่ออก)

นอกจาก  ๒๐  คำที่บังคับให้ใช้ไม้ม้วนแล้ว  บรรดาคำไทยที่ออกเสียง  “ไอ”  ให้ใช้สระไอ  (ไม้มลาย)  ทั้งสิ้น  แม้แต่คำที่มาจากภาษาอื่น  ก็ให้ใช้ไม้มลายเช่นเดียวกัน  เช่น :-  ไปไหน  ไวไฟไยไพ  ไจไหม  เบาได๋  กุบไลข่าน  ยวนชีไข  ซามูไร  แอสไพริน  ไวตามิน  ไมโครโฟน  ไทฟอยด์  ไหหลำ  ไต้ฝุ่น  ไทเป  ฯลฯ

ส่วนคำที่มาจากบาลีและสันสกฤต  พยางค์ที่ออกเสียง  “ไอ”  มีวิธีเขียนได้ถึง  ๔  ชนิด  คือ  ไอ  ไอย  อัย  อัยย  มีหลักสังเกตดังนี้ :-

ไ  อ  (ไม้มลาย)

ก.  ใช้เขียนคำมาจากสันสกฤต  ซึ่งเดิมก็เป็นสระไออยู่แล้ว  เช่น :-

ไอศวรรย์       เดิมเป็น        ไอศฺวรฺย             ไพรี             เดิมเป็น             ไวรี
ไพโรจน์          ”                ไวโรจฺน             ไพศาล              ”               ไวศาล
ไพศาลี           ”                 ไวศาลี               ไมตรี               ”               ไม่ตฺรี
ไศล               ”                  ไศล                 ไกลาส              ”               ไกลาส
ไอราวัณ          ”                 ไอราวณ ฯลฯ

ข.  ใช้เขียนคำที่มาจากบาลีและสันสกฤต  ซึ่งคำเดิมเป็นสระ  อิ  อี  เอ  แล้วแผลงมาเป็นสระไอ  เมื่อนำมาใช้ในภาษาไทย เช่น :-

ไพจิตร               เดิมป็น              วิจิตร
ไพหาร               ”                       วิหาร
ไกรสร                ”                       เกสร
ไอราวดี              ”                       อิราวดี
ไวที                   ”                       เวที
ฯลฯ

ไอย  (ไม้มลาย)  มี  “ย”  ตาม)  ใช้เขียนคำที่มาจากบาลีหรือสันสกฤต

ถ้ามาจากบาลี  คำเดิมเป็น  “เอยฺย”  (เอยฺ-ยะ)  เมื่อนำมาใช้ในภาษาไทยเราแผลง  “เอ”  เป็น  “ไอ”  แล้วตัดตัว  “ย”  ออกตัวหนึ่ง  จึงมีรูปในภาษาไทยเป็น  “ไอย”  เช่น :-

ไชย                   เดิมเป็น             เชยฺย
โภไคย               ”                       โภเคยฺย
ภูวไนย               ”                       ภูวเนยฺย
อาชาไนย           ”                       อาชาเนยฺย

ถ้ามาจากสันสกฤต  คำเดิมเป็น  “เอย”  (เอ-ยะ)  เมื่อนำมาใช้ในภาษาไทย  เราแผลง  “เอ”  เป็น  “ไอ”  จึงมีรูปในภาษาไทยเป็น  “ไอย”  เช่น :-

ภาคิไนย            เดิมเป็น             ภาคิเนย
อุปไมย              ”                       อุปเมย
ฯลฯ

หมายเหตุ  :-  มีคำอยู่ ๒  คำซึ่งเดิมมิใช่  “เอยฺย”  หรือ  “เอย”  แต่เราเขียนเป็น  “ไอย”  คล้ายกับว่ามาจาก  “เอยฺย”  หรือ  “เอย”  ได้แก่คำไทย  กับ  ไอยรา

คำ  “ไทย”  นั้น  เดิมเป็น  “ไท”  เหตุที่มีตัว  “ย”  ติดอยู่ข้างหลังก็เนื่องจากพระท่านนำเอาคำ “ไท”  ไปแต่งเป็นภาษาบาลี  แต่ภาษาบาลีไม่มีสระ  “ไอ”  ท่านจึงแปลงสระ “ไอ”  ของไทยเป็น  “เอยฺย”  และเขียนว่า  “เทยฺย”  เพื่อให้เข้าหลักภาษาบาลี  ครั้นเขียนกลับมาเป็นภาษาไทยกลายเป็น  “ไทย”  ตามวิธี  “ลากคำเข้าวัด”  ของคนโบราณ

ส่วนคำ  “ไอยรา”  นั้นมาจากคำเดิมของสันสกฤตว่า  “ไอราวณ”  หรือที่ไทยเราใช้เต็มคำว่า  “ไอราวัณ”  เมื่อนำไปใช้ในบทประพันธ์  บางทีพยางค์ยาวเกินกว่ากำหนดของคำประพันธ์ชนิดนั้นๆ จึงตัดพยางค์ให้สั้นลงเหลือแต่เพียง  “ไอรา”  แล้วต่อมาก็แทรกตัว  “ย”  เติมเข้าไปจึงเป็น “ไอยรา”

วิธีตัดคำให้สั้นเช่นนี้  ไทยเราใช้มากเช่น :-

พารา                 ตัดมาจาก          พาราณสี
อักโข                        ”                อักโขภิณี
เณร                         ”                สามเณร
โนรา                        ”                มโนหรา
โบสถ์                       ”                อุโบสถ
ฯลฯ

อัย  (หันอากาศ  ย  สะกด)  ใช้เขียนคำที่มาจากบาลี  และสันสกฤต  ซึ่งเดิมออกเสียงเป็น  ๒  พยางค์  คือ  “อย”  อ่านว่า  อะยะ  เมื่อนำมาใช้ในภาษาไทย  เราใช้ตัว “ย”  เป็นตัวสะกดจึงออกเสียงแต่เพียงพยางค์เดียวว่า  “อัย”  เพราะฉะนั้น  คำที่มี  หันอากาศตัว   สะกดซึ่งมาจากบาลีและสันสกฤต  เช่น  ขัย,  วัย,  ฯลฯ  ถ้ามีคำอื่นประสมข้างหลัง  ต้องอ่านออกเสียงตัว    ด้วยเสมอ  เพราะคำเดิมเขาออกเสียงอยู่แล้ว  คำเหล่านี้มีใช้ในภาษาไทยมาก  เช่น :-

ขัย        เดิมเป็น             ขย                       ชัย          เดิมเป็น          ชย
หทัย           ”                  หทย                    นิสัย           ”                 นิสฺสย
เมรัย          ”                   เมรย                     วินิจฉัย       ”                วินิจฺฉย
หัย             ”                   หย                       อาลัย         ”                อาลย
อภัย           ”                   อภย                     กษัย           ”                กษย
ดนัย           ”                    ตนย                    นัยนา         ”                นยน
ปัจจัย         ”                    ปจฺจย                   วินัย           ”                วินย
วัย             ”                     วย                       อนามัย       ”                อนามย
อาศัย         ”                     อาศย                  อุทัย           ”               อุทย
ฯลฯ

อัยย  (หันอากาศ  ย  สะกด  และมี  ย  ตาม)  อ่านว่า  อัย-ยะ  ฝช้เขียนคำที่มาจากบาลี  และสันสกฤต  แต่มีหลักอยู่ว่า  ถ้า    ตัวหลังไม่มีรูปสระหรือตัวสะกด  (ดูอักษรซ้ำ-อักษรซ้อน)  ให้ตัด    ออกเสียตัวหนึ่ง  ถ้ามีรูปสระหรือตัวสะกดกำกับอยู่ด้วย  ให้คงตัว    ไว้ทั้ง  ๒  ตัว  เช่น :-

ปัยกา                เดิมเป็น             ปยฺยก
อัยกี                       ”                  อยฺยกี
อัยกา                     ”                   อยฺยก
อัยยะ                     ”                   อัยย

อัย  ที่มาจาก  อัยย  จะต้องมีพยางค์หลังตามมาอีกหนึ่งพยางค์  และต้องออกเสียงตัว  ย  ที่เป็นตัวสะกดเสมอ  แต่ถ้าไม่ตัวตัว    ออก  (คงไว้ทั้ง  ๒  ตัว)  ไม่ต้องออกเสียงตัว    ซึ่งเป็นตัวสะกด  เช่น  อัยยะ  =  พระผู้เป็นเจ้า,  นาย  (ออกเสียงเป็น  อัย-ยะ  ไม่ใช่  อัย-ยะ-ยะ)

สระบางตัวที่มิได้อธิบายไว้ในที่นี้  คงใช้ตามปรกติ  ไม่มีวิธีพลิกแพลงอย่างไร  แม้บางตัวจะเปลี่ยนแปลงได้ในเมื่อมีตัวสะกด  เช่น  สระเอียะ,  เอือะ  แต่ก็ไม่สำเนียงที่จะใช้เขียนในภาษาไทยจึงมิได้อธิบายไว้

วิธีใช้สระโดยสรุป

วิธีใช้สระทั้งหมด  เมื่อกล่าวโยสรุปแล้วมีอยู่  ๕  วิธีคือ  :-

๑.  คงรูป  คือต้องเขียนรูปให้ปรากฏชัด เช่น :-  กะบะ  กะปิ  ดีนี่  ไปไหน  ทำไม  นานโข

๒.  ลดรูป  คือไม่ต้องเขียนรูปสระให้ปรากฏหรือปรากฏแต่เพียงบางส่วน  แต่ต้องออกเสียงให้ตรงกับรูปสระที่ลดนั้น  การลดรูปมี  ๒  อย่าง  คือ :-

ก.  ลดรูปทั้งหมด  ได้แก่  พยัญชนะ  +  สระโอ  +  ตัวสะกด  (ยกเว้นตัว  ร  )  เช่น :-

น  +  โอะ  +  ก-สะกด  =  นก.
ม  +  โอะ  +  ด-สะกด  =  มด.
ก  +  ออ  +  ร-สะกด  =  กร.
จ  +  ออ  +  ร-สะกด  =  จร.

ข.  ลดรูปบางส่วน  ได้แก่สระที่ลดรูปไม่หมด  เหลือไว้แต่เพยงบางส่วนของรูปเป็ตพอเป็นเครื่องสังเกตให้รู้ว่าไม่ซ้ำกับรูปอื่น เช่น  :-

ก  +  เออ  +  ย-สะกด  =  เกย  (ลดรูปตัว    เหลือแต่ไม้หน้า)
ส  +  เอีย  +  ง-สะกด  =  สยง  (ลดไม้หน้ากับพินทุ  อี  เหลือแต่ตัว  )
ก  +  อัว  +  น-สะกด  =  กวน  (ลดหันอากาศ  เหลือแต่ตัว  )

๓.  แปลงรูป  คือแปลงสระรูปเดิมให้เปลี่ยนเป็นอีกรูปหนึ่งเช่น :-

ก  +  อะ  +  น-สะกด  =  กัน  (แปลงวิสรรชนีย์เป็นหันอากาศ)
ก  +  เอะ  +  ง-สะกด  =  เก็ง  (แปลงวิสรรชนีย์เป็นไม้ตู่คู้)
ข  +  แอะ  +  ง-สะกด  =  แข็ง (แปลงวิสรรชนีย์เป็นไม้ตู่คู้)
ด  +  เออ +  น-สะกด  =  เดิน (แปลง  อ  เป็น  พินทุอิ)

๔.  ตัดรูป  คือตัวสระ  อะ  ที่เป็นสระหน้าของคำที่มาจากบาลีและสันสกฤต  และไม่ต้องออกเสียงสระที่ตัดนั้น  (คือตัดทั้งรูปและเสียง) เช่น :-

นุช-นุช,  ดิเรก-ดิเรก,  ภิปราย-ภิปราย,  ภิรมย์-ภิรมย์,  เนกอนันต์-เนกนันต์

๕.  เติมรูป  คือเพิ่มรูปเข้ามานอกเหนือจากที่มีอยู่แล้ว  ได้แก่สระ  อื  ที่ใช้ในมาตรา  ก  กา  เช่น :-

ม  +  อื  มื  เติม    เป็น  มือ
ค  +  อื  คื  เติม    เป็น  คือ

เหตุที่เติมรูปเพราะในการเขียนรูปสระ  อี  และสระ  อื  ในสมัยโบราณ  ไม่มีตัวพิมพ์ใช้  ต้องใช้เขียนถ้าเขียนตัวบรรจงก็สังเกตง่าย  ไม่มีปัญหา,  แต่ถ้าเขียนหวัดก็ทำให้ฉงนเช่น  มี  กับ  มื  มีความหมายด้วยกันทั้งสอง  ยากแก่การวินิจฉัยว่าควรจะเป็น  มี  หรือ  มือ  แต่ถ้าเติมรูป    ลงไปที่สระ  อื  ก็เข้าใจได้ว่าเป็นสระ  อือ  ,  ส่วนสระ  อี  คงรูปไว้อย่างเดิมก็จะทำให้การอ่านง่ายขึ้น  ถึงแม้จะเขียนสระ  อื  ตกรูป  “ฝนทอง”  ไปหนึ่งอันเป็น  มือ  ก็รู้ได้ว่าเป็นสระ  อื  เพราะมีตัว    กำกับอยู่  จะออกเสียงเป็นสระ  อี  ไม่ได้  การเติมรูปสระจึงมีประโยชน์ดังนี้

หมายเหตุ  :-    ๑.  สระบางตัวอาจใช้วิธีลดรูปและแปลงรูปก็ได้เช่น :-

เอาะ  เกาะ  แล้วลดรูป  ไม้หน้า  กับ  ลากข้าง  และแปลงรูปวิสรรชนีย์เป็น                                ไม้ไต่คู้  ก็จะกลายรูปเป็น  ก็

๒.  สระที่ประสมกับวิสรรชนีย์บางตัว  เมื่อแปลงวิสรรชนีย์เป็นไม้ไต่คู้แล้วจะกลับเป็นสระตัวเดิมที่ยังมิได้ประสมกับวิสรรชนีย์เช่น  เอาะ  จะกลับเป็น  ออ  ในเมื่อแปลงวิสรรชนีย์เป็นไม้ไต่คู้และมีตัวสะกด  ตัวอย่าง  ก  เอาะ  เกาะ+ก-ตัวสะกด  จะเป็น  ก๊อก  เมื่อแปลงวิสรรชนีย์เป็นไม้ไต่คู้แล้ว  สระ  เอาะ  ก็จะกลับเป็นสระ  ออ  ตัวเดิมที่ยังมิได้ประสมกับวิสรรชนีย์จึงจะมีรูปเป็น  ก็อก

ที่มา  :  กำชัย  ทองหล่อ. (๒๕๕๔). หลักภาษาไทย. (พิมพ์ครั้งที่ ๑๓). กรุงเทพฯ : รวทสาส์น

ก็ ก้ำ ค่ำ น้ำ เป็น แฟ็น

จำ ปำ ดำ นำ กา คา ดา นา ณา ปลา
ป้า น้า ค้า สินค้า ฆ่า

Leave a Reply